On 19 February 2018, Thai Government established “the Working Group on Labour Relations Promotion in Sea Fishing Operation” with the aim of helping to drive labour relations systems in sea fishing operations and promoting employees’ collective bargaining and organisations. The Working Group is composed of representatives from both Thai and international organisations and NGOs, such as the Life Quality Promotion Network Foundation, the Stella Maris Sri Racha Center, the Environmental Justice Foundation, Human Rights Watch (Asia and Pacific Region), as well as the Committee on Labour Reconciliation of Thailand and the International Labour Organization.
The Working Group’s mandate is to layout measures and recommendations to promote labour relations in sea fishing operations so they are in accordance with Thailand’s international obligations, for example, by establishing a labour network in the fisheries sector, providing advice on workers’ rights for better bargaining capacity and establishing a dialogue platform for employers and employees where workers in the fisheries sector can better voice their concerns and protect their rights accordingly. The Working Group’s recommendations will be submitted to the Sub-Committee on Resolving Illegal Fishing Problems. The inaugural meeting of the Working Group was held on 28 February 2018 and resulted in a proposal to establish at least 22 provincial networks of sea fisheries workers in every coastal province of Thailand. The first five pilot coastal provinces for the establishment of the said networks are Chonburi, Samut Sakorn, Samut Songkhram, Samut Prakan and Trang.
These networks marked the first step towards acknowledging the organisation of employees within the fisheries sector. Members of the networks are representatives of employees, both Thai and migrant, from each fishing vessel, while representatives from the Fisheries Association of Thailand, government agencies, and NGOs will act as consultants.
These networks would help workers to better self-regulate and increase their bargaining power to negotiate with employers, encourage dialogue to reduce conflict, give access for employees to make claims for benefits and welfare other than those specified by law, as well as act as a complaint channel.
In addition, there is also a plan to promote the establishment of a national network of sea fisheries workers which will bring together members of the provincial networks of sea fisheries workers in the future.
Apart from this, in preparation for the ratifying process of the ILO Right to Organise and Collective Bargaining Convention 98 by September this year, Thailand is in the process of drafting the Labour Relations Act B.E…. (….) and the State Enterprise Labour Relation Act B.E. …. (….) allowing migrant workers to become members of labour unions. The public hearings from stakeholders on these two Acts have already taken place.
เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ รัฐบาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในกิจการประมงทะเล เพื่อขับเคลื่อนระบบแรงงานสัมพันธ์ในกิจการประมงทะเล และส่งเสริมการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของลูกจ้าง โดยมี NGOs ของไทยและต่างประเทศ อาทิ องค์การมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล ศรีราชา มูลนิธิ Environmental Justice Foundation องค์กร Human Rights Watch ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตลอดจนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ด้วย
คณะทำงานดังกล่าวมีหน้าที่จัดทำมาตรการในการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในกิจการประมงทะเลที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ อาทิ การสร้างเครือข่ายแรงงานประมงทะเล การให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการเจรจาต่อรอง และการจัดตั้งเวทีกลางสำหรับการเจรจาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้เสียงของแรงงานภาคประมงทะเลดังและเข้มแข็งมากขึ้นในการปกป้องสิทธิของตนเอง โดยให้นำเสนอแนวทางของมาตรการต่อคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
จากการประชุมของคณะทำงานฯ ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ได้มีข้อเสนอให้จัดตั้งเครือข่ายแรงงานประมงทะเลจังหวัด ในพื้นที่ติดชายทะเล ๒๒ จังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ ๑ เครือข่าย ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวจะเป็นองค์กรการรวมตัวของลูกจ้าง มีการเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างจากเรือแต่ละลำเป็นสมาชิกเครือข่าย โดยมีสมาคมประมงแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ และ NGOs เป็นที่ปรึกษา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับการรวมตัวของแรงงานและทั้งไทยและต่างด้าวในภาคประมง เพื่อให้แรงงานสามารถดูแลกันเองได้ เพิ่มน้ำหนักในการเจรจาต่อรองกับนายจ้าง ส่งเสริมให้มีการหารือร่วมเพื่อลดข้อขัดแย้ง และให้ลูกจ้างสามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ หรือร้องทุกข์นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดได้ โดยจะนำร่องใน ๕ จังหวัดชายทะเลก่อน ได้แก่ ชลบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และตรัง นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีแผนจะส่งเสริมให้จัดตั้งเครือข่ายแรงงานประมงทะเลระดับประเทศ ซึ่งจะเป็นการรวมตัวของสมาชิกเครือข่ายแรงงานประมงทะเลจังหวัดต่อไป
นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... เพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถเป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้ โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน การดำเนินการทั้งหมดนี้ เป็นการเตรียมการเข้าสู่กระบวนการรับรองอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๑