Thailand and ILO Conducted Training Courses to Protect Labour in the Fisheries Sector ไทยร่วมมือ ILO อบรมพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองแรงงานประมงทะเล

Thailand and ILO Conducted Training Courses to Protect Labour in the Fisheries Sector ไทยร่วมมือ ILO อบรมพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองแรงงานประมงทะเล

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 997 view

 

The Ministry of Labour of the Kingdom of Thailand and the International Labour Organization (ILO) has co-organised three capacity building training courses for labour inspectors. The first training course was carried out on 13 March 2018 in Chonburi Province where 30 labour inspectors from Bangkok and 22 coastal provinces participated. The second and third training courses are also scheduled to be held in April and May 2018 respectively. 


In 2017, the Ministry of Labour together with the ILO conducted training for 90 labour inspectors from Bangkok and 22 coastal provinces. The training was a part of “Ship to Shore Rights Project”, funded by the European Union in cooperation with the ILO and the Ministry of Labour, to combat unacceptable forms of work in the Thai fishing and seafood industries. These 90 labour inspectors will also take part in the 2018 training courses to build on their expertise to advise their colleagues for more effective inspections. 
 
In the past three years, the Thai Government has attached great importance to improve efficiency of the Thai labour inspections, especially in the fishing and seafood industries, by strengthening their capacity for preventing and detecting labour rights violation. The government has also increased the number of labour inspectors to meet the ILO standard. The number of labour inspectors increased 21 percent from 1,245 officers in 2016 to 1,506 officers in 2017 and a further new 186 labour inspectors are expected to be recruited this year. 
 
From 19 December 2016 to 25 December 2017, the inspections and interviews of 53,508 migrant workers at 22 PIPO centers in coastal areas showed that 3,496 migrant worker were violated under the labour protection law by their employers. These cases were already concluded by the Administrative Sanction Committee. Moreover, in 2017, 358 seafood processing factories were inspected, of which 142 factories were found having violated the law. Nine factories were shut down by the Administrative Sanction Committee’s rulings.
 
 
ไทยร่วมมือ ILO อบรมพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองแรงงานประมงทะเล
 

กระทรวงแรงงานร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization – ILO) จัดโครงการอบรมพนักงานตรวจแรงงาน ๓ รุ่น โดยรุ่นที่ ๑ ได้ดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ที่จังหวัดชลบุรี ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยพนักงานตรวจแรงงานจากส่วนกลางและ ๒๒ จังหวัดชายทะเล รวม ๓๐ คน รุ่นที่ ๒ มีกำหนดจัดในเดือนเมษายน ๒๕๖๑ และรุ่นที่ ๓ จัดในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑

เมื่อปี ๒๕๖๐ กระทรวงแรงงานร่วมมือกับ ILO จัดฝึกอบรมการตรวจแรงงานประมงทะเลให้กับพนักงานตรวจแรงงานใน ๒๒ จังหวัดชายทะเลและกรุงเทพมหานคร จำนวนรวม ๙๐ คน โดยการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “สิทธิจากเรือสู่ฝั่ง” (Ship to Shore Rights Project) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน ILO และสหภาพยุโรป เพื่อลดรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเล โดยพนักงานตรวจแรงงานทั้ง ๙๐ คนนี้ จะได้รับการอบรมต่อยอดการพัฒนาศักยภาพอีกครั้งในปี ๒๕๖๑ เพื่อให้มีความรู้เฉพาะด้านในการให้คำปรึกษาเพื่อนร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมประมงทะเลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งการเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันและตรวจจับการละเมิดสิทธิแรงงาน และการเพิ่มจำนวนของผู้ตรวจแรงงานให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนแรงงานตามมาตรฐานของ ILO โดยในปี ๒๕๖๐ ไทยมีจำนวนผู้ตรวจแรงงานทั้งสิ้น ๑,๕๐๖ คน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๑ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๙ ซึ่งมีจำนวน ๑,๒๔๕ คน และจะบรรจุเพิ่มในปี ๒๕๖๑ อีกจำนวน ๑๘๖ อัตรา 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบและสัมภาษณ์แรงงานต่างด้าวในภาคประมงจำนวน ๕๓,๕๐๘ คน ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า – ออก (PIPO) ๒๒ แห่งในพื้นที่ชายฝั่ง ตั้งแต่วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ – ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ พบว่า แรงงานจำนวน ๓,๔๙๖ ราย ถูกละเมิดโดยนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ซึ่งทุกกรณีได้รับการลงโทษตามมาตรการทางปกครองแล้ว ในส่วนของการตรวจแรงงานในสถานประกอบการแปรรูปพบการกระทำผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานในสถานประกอบการแปรรูป ๑๔๒ แห่ง จาก ๓๕๘ แห่ง และได้ใช้มาตรการทางปกครองปิดสถานประกอบการแล้ว ๙ แห่ง