Thailand Heads towards the Establishment of a Union for Fishery Workers ไทยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมด้านคดีประมงผิดกฎหมายทั้งระบบ

Thailand Heads towards the Establishment of a Union for Fishery Workers ไทยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมด้านคดีประมงผิดกฎหมายทั้งระบบ

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 817 view

 

On 18 March 2018, representatives from the public and private sectors as well as from civil society organisations, and relevant government agencies, namely, the National Fisheries Association of Thailand, the Labour Rights Promotion Network Foundation, the Myanmar Migrants Network to Promote Rights in Thailand and the Center for Asian Migration Research, gathered together at the press conference to jointly launch “the Thai and Migrant Fisher Union Group” and the "Labour Voices" hotline. 

 
The establishment of the Thai and Migrant Fisher Union Group is a step forward to enhance the legal protection, assistance and access to remedies for fishery workers. For the first time, representatives of both Thai and migrant fishery workers can be part of the process to protect their own rights. The Union Group will help strengthen the fishery workers to be self-reliant and to make public demands for the betterment of their livelihood and welfare. 
 
The Union Group is also an important stepping stone towards to an official establishment of a "Fishery Workers Union" in the future. It also plays an important role in campaigning for the government to provide better labour management policies and protection for fishery workers both in and outside Thai waters. The representatives of the fishery workers were pleased with the public sector’s support for the setting-up of this Union Group because workers were the ones who knew the problems and could offer the best recommendations and solutions. 
 
The Union Group is a concrete result of the push by “the Working Group on Labour Relations Promotion in Sea Fishing Operation”, established by the Thai Government and composed of representatives from both Thai and international organisations and NGOs, to deliver valuable advice to the government. The Working Group’s aims are to improve labour relations systems in sea fishing operations and promoting employees’ collective bargaining and organisations. 
 
In addition, the press conference also launched the "Labour Voices" hotline. The hotline, providing services in four languages i.e. Thai, Myanmar, Cambodian and Laotian since 1 December 2017, is a joint effort between the Labour Rights Promotion Network Foundation and the private sector. It acts as a complaint channel for both Thai and foreign workers when there is violation of workers’ rights. The Foundation will act as a moderator which receives comments, suggestions and complaints from the workers and bring the matters forward to the existing mechanism of both public and private sectors to properly address the problems.
 
 
ไทยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมด้านคดีประมงผิดกฎหมายทั้งระบบ
 

เมื่อวันที่ ๑๗ – ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑ ไทยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายแบบบูรณาการ ณ จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้แทนจากศาลอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กองทัพเรือ และกรมประมง เข้าร่วม รวม ๑๐๑ คน เพื่อระดมความเห็นและร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินคดีการทำประมงผิดกฎหมายให้มีความรวดเร็วและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากยิ่งขึ้น

การประชุมดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกของการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้านคดีประมงทั้งระบบ โดยให้มีการกำหนดกรอบเวลาและขั้นตอนการทำงานของตำรวจ อัยการ และศาลไว้อย่างชัดเจน กล่าวคือในชั้นพนักงานสอบสวน เมื่อพบการกระทำผิดที่เป็นการทำประมงผิดกฎหมาย ต้องดำเนินคดีและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการภายใน ๒ เดือน ชั้นอัยการจะพิจารณาสำนวนและส่งฟ้องศาลภายใน ๑ เดือน และศาลโดยองค์คณะพิเศษพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย จะพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน นับตั้งแต่วันรับฟ้อง ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาคดีอาญาและคดีปกครอง การยึดและการจำหน่ายของกลาง ตลอดจนความเป็นไปได้ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีประมงต่อไปในอนาคตด้วย

นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังได้เชิญผู้แทนจากองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินคดีประมงด้วย ซึ่งเป็นความร่วมมือในการนำองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของการบังคับใช้กฎหมายด้านประมงของต่างประเทศมาพัฒนาการบังคับใช้กฎหมายของไทยให้มีมาตรฐานสากลมากขึ้นด้วย

ไทยจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในลักษณะนี้อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรปมาถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการดำเนินคดีประมงให้หน่วยงานของไทยได้รับทราบด้วย และมีนโยบายที่จะจัดการสัมมนาเช่นนี้เป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความต่อเนื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายด้านคดีประมงเพื่อให้เกิดการป้องปรามการทำประมงผิดกฎหมายได้อย่างเข้มแข็งต่อไป