วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
On 27 March 2018, the Thai Cabinet approved the draft Ministerial Regulation on Labour Protection in Sea Fishing Work (No. ...), B.E. ...., which contained important amendments to the Ministerial Regulation on Labour Protection in Sea Fishing Work B.E. 2557. The draft Ministerial Regulation requires that sea fishing workers be paid monthly wages via bank accounts and that employers who own oversea fishing vessels shall provide communication devices for fishing workers to communicate with authority concerned or family members during their time at sea.
เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยร่างกฎกระทรวงดังกล่าวกําหนดให้จ่ายค่าจ้างแรงงานประมงทะเลเปผ้นรายเดือนผ่านบัญชีธนาคาร และกําหนดให้ นายจ้างที่ทําการประมงในทะเลนอกน่านน้ำไทย ต้องจัดให้มีอุปกรณ์สื่อสารให้ลูกจ้างแรงงานประมงติดต่อสื่อสาร กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลภายในครอบครัวได้ในระหว่างที่ออกทะเล
ตามระเบียบเดิมกําหนดให้วิธีการจ่ายเงินเดือนขึ้นอยู่กับนายจ้าง แต่ตามระเบียบใหม่บังคับให้นายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานประมงทะเลเป็นรายเดือนไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมาย โดยคูณด้วย ๓๐ วัน และต้องจ่ายผ่านช่องทางธนาคาร เพื่อความโปร่งใสในการจ่ายค่าจ้างและสามารถตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันปัญหา การหักค่าจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และช่วยแก้ปัญหาเรื่องนายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่ตรงเวลาและไม่ตรงกับค่าแรงจริง
ก่อนหน้านี้ กระทรวงแรงงานได้เตรียมการรองรับการบังคับใช้ระเบียบใหม่ โดยได้ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ และสมาคมประมงแห่งประเทศไทย ในการเพิ่มจํานวนเครื่อง ATM จํานวนกว่า ๘๐ ตู้ ที่มีภาษาของแรงงานต่างด้าว บริเวณท่าเรือประมง แพปลา ศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) ๓๒ ศูนย์ ใน ๒๒ จังหวัดชายทะเล และแหล่งชุมชน ที่พักอาศัยของลูกจ้างต่างด้าว เพื่ออํานวยความสะดวกแก่แรงงานในการรับเงินผ่านเครื่อง ATM ตลอดจนร่วมมือ กับธนาคารแห่งประเทศไทย ในการกําหนดหลักเกณฑ์การเปิดบัญชีธนาคารของลูกจ้างต่างด้าว เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ นําไปปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับข้อบังคับการจ่ายค่าจ้างแรงงานประมงทะเล โดยได้รัวมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในการจัดทําสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เผยแพร่ให้แรงงานต่างด้าว รับทราบในภาษาของแรงงานต่างด้าว และได้จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปแล้ว ๓ ครั้ง เพื่อให้ความรู้เรื่องกฎหมาย คุ้มครองแรงงาน แบบสัญญาจ้างลูกจ้างประมง การจัดทําบัญชีการจ่ายค่าจ้าง เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่เจ้าของเรือ สมาคมประมง ผู้ประกอบการประมงทะเล และธนาคารพาณิชย์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ในเขตจังหวัด ชายทะเล ๒๒ จังหวัด โดยมีผู้เข้าร่วมรวมทั้งสิ้น ๗๖๐ คน
ในส่วนของการกําหนดให้นายจ้างที่ทําการประมงในทะเลนอกน่านน้ำไทยต้องจัดให้มีอุปกรณ์สื่อสาร สําหรับลูกจ้างแรงงานประมงให้สามารถติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่และบุคคลภายในครอบครัวได้ในระหว่างที่ ออกทะเลนั้น นับเป็นหนึ่งในกลไกที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกเรือ และคุ้มครองแรงงานประมงให้มีช่องทาง ในการติดต่อสื่อสาร แจ้งเรื่องราวความเดือดร้อนและร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่จะคุ้มครองแรงงานในภาคประมงทะเลมิให้ตกเป็นเหยื่อแรงงาน บังคับและการค้ามนุษย์ และทําให้การบริหารจัดการแรงงานในงานประมงทะเลของไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยการทํางานในภาคประมง (C188) ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการดําเนินการเพื่อเป็นภาคีด้วย
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์)