วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 พ.ย. 2565
On 14 March 2018, the Criminal Court sentenced two defendants on charges of human trafficking on a fishing vessel to a 9-year-and-4-month period in prison. The victim was deceptively taken by an agent to work for the two defendants at the fish market, but was subsequently sent to work on board the fishing vessel “Por. Samutchai 62” which belonged to the first defendant, and where the second defendant was working as the vessel master. While working aboard, the victim did not receive the wages as promised, and was not allowed to have enough rest and food, and thus later filed a complaint to police officers against the two defendants.
ศาลไทยตัดสินจําคุกจําเลยคดีค้ามนุษย์บนเรือประมงคนละ ๙ ปี ๔ เดือน และคดีเจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับสินบนจากการค้ามนุษย์คนละ ๕ ปี
เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๑ ศาลอาญาได้พิพากษาจําเลย ๒ ราย ฐานหลอกลวงผู้อื่นไปค้ามนุษย์บนเรือประมง โดยมีโทษจําคุกคนละ ๙ ปี ๔ เดือน ทั้งนี้ ผู้เสียหายได้ถูกหลอกลวงโดยผ่านนายหน้า ซึ่งพาผู้เสียหายไปส่งมอบให้ จําเลยทั้งสองคน เพื่อทํางานที่แพปลา และต่อมาถูกส่งไปทํางานบนเรือประมง ป. สมุทรชัย ๖๒ ซึ่งเป็นของจําเลยคนที่ ๑ โดยมีจําเลยคนที่ ๒ ซึ่งเป็นไต้ก๋งเรือ ระหว่างทํางานบนเรือ ผู้เสียหายไม่ได้รับค่าจ้างตามที่จําเลยได้สัญญาไว้ และมีเวลาพักผ่อนและได้รับอาหารไม่เพียงพอ ผู้เสียหายจึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดี กับจําเลยทั้งสองคน
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ ศาลอาญาได้พิพากษาจําคุกจําเลย ๔ ราย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจ รายละ ๕ ปี ฐานเรียกรับผลประโยชน์จากการลักลอบค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ๔๐ คน ในจังหวัดสงขลา แล้วปล่อยตัว ผู้ต้องหาไปเมื่อปี ๒๕๕๙ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐได้ชี้มูลความผิดอาญา และความผิดวินัยร้ายแรง และต่อมา สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริตได้ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อเดือน มีนาคม ๒๕๖๐ นอกจากนี้ สํานักงานตํารวจแห่งชาติยังได้ลงโทษไล่เจ้าหน้าที่ตํารวจทั้ง ๔ นาย ออกจากราชการแล้ว ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้มีคําสั่งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ตํารวจจํานวน ๑๓ นาย พ้นจากหน้าที่ ซึ่งตกเป็น ผู้ถูกกล่าวหาพัวพันการค้ามนุษย์ใน ๔ คดี ซึ่งกําลังอยู่ในกระบวนการสอบสวนเพื่อลงโทษทางวินัยและทางอาญาด้วย
ผลการพิจารณาคดีทั้งสองคดี สะท้อนความจริงจังของรัฐบาลไทยในการปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้งระบบ และการลงโทษสถานหนักต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่พัวพันการค้ามนุษย์โดยเฉพาะในภาคประมง โดยนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ มาจนถึงปัจจุบัน ทางการไทยได้ดําเนินคดีค้ามนุษย์ในภาคประมงจนถึงที่สุดแล้ว ๔๐ คดี จากทั้งหมด ๘๕ คดี โดยมีคดีที่เจ้าของเรือถูกลงโทษจําคุกสูงสุดถึง ๑๑ ปี
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์)