อียูเริ่มใช้แผนยุทธศาสตร์สารเคมีฉบับใหม่ มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมปลอดสาร PFAS

อียูเริ่มใช้แผนยุทธศาสตร์สารเคมีฉบับใหม่ มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมปลอดสาร PFAS

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 พ.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,139 view

อียูเริ่มใช้แผนยุทธศาสตร์สารเคมีฉบับใหม่ มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมปลอดสาร PFAS

ในปี 2561 ยุโรปผลิตสารเคมีเป็นลำดับที่ 2 ของโลกหรือประมาณ 16.9 % ของยอดขายโลก โดยมากกว่าครึ่งของสารเคมีที่ผลิตในยุโรปนั้น เป็นการผลิตเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งแผนยุทธศาสตร์สารเคมีตระหนักถึงบทบาทสาคัญของสารเคมีเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจและสังคม “สีเขียวและดิจิทัล” ของยุโรป

แม้อียูจะมีกฎระเบียบควบคุมการใช้สารเคมีที่ซับซ้อน ซึ่งได้สร้างฐานความรู้ด้านสารเคมีที่ทันสมัยที่สุดในโลก อีกทั้งยังได้มีการจัดตั้งหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินความเสี่ยงและภัยอันตรายของสารเคมีอยู่แล้ว ถึงกระนั้น อียูมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแผนนโยบายด้านสารเคมีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดและความกังวลของประชาชนด้วย เนื่องจากสารเคมีบางชนิดเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน รวมถึงประชาชนรุ่นต่อไป โดยเฉพาะในบริบทยุคโควิด-19 ที่สารเคมีอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและทำให้ความยืดหยุ่นและความสามารถในการตอบสนองต่อวัคซีนของมนุษย์น้อยลง

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ตีพิมพ์แผนยุทธศาสตร์สารเคมีเพื่อความยั่งยืน (EU Chemicals Strategy for Sustainability) เพื่อมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นก้าวแรกสู่สังคมปลอดมลพิษ (zero pollution) ไม่ว่าจะเป็นมลพิษในอากาศ ในน้ำ หรือ ในดิน ตามแผนนโยบายกรีนดีลของอียู โดยแผนยุทธศาสตร์สารเคมีจะ 1) ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสารเคมีที่ปลอดภัยและยั่งยืน และ 2) เพิ่มการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากสารเคมีที่เป็นอันตราย รวมถึงการห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายเกินความจาเป็นในสินค้าต่าง ๆ เช่น ของเล่น อุปกรณ์สาหรับเด็ก เครื่องสาอางค์ น้ำยาทาความสะอาด วัสดุสัมผัสอาหาร และสิ่งทอ เป็นต้น โดยต้องมั่นใจได้ว่าสารเคมีทั้งหมดถูกนำมาใช้อย่างปลอดภัยและยั่งยืนมากขึ้น

แผนยุทธศาสตร์นี้ จะนำไปสู่การลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในสินค้าต่าง ๆ จนเหลือศูนย์ (phasing out) อาทิ สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine disruptors) และระบบทางเดินหายใจ และสาร per- and polyfluoroalkyl substances (PFAS) ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในในบรรจุภัณฑ์อาหารแม้ PFAS จะมีความเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพก็ตาม เป็นต้น ปัจจุบันมีการใช้สาร PFAS ในสิ่งของที่ประชาชนใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น กระทะเทฟลอน กระดาษสำหรับอบขนม เสื้อผ้ากันน้ำ (Goretex) และโฟมดับเพลิง เป็นต้น ซึ่งอียูจะห้ามใช้กลุ่มสาร PFAS ในโฟมดับเพลิงและสินค้าอื่นๆหากไม่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากสาร PFAS นั้นไม่สามารถย่อยสลายในสิ่งแวดล้อมได้ ปัจจุบันจึงมีการตรวจพบสาร PFAS ปนเปื้อนในดินและน้ำ รวมถึงน้ำดื่ม ในอียูและนานาประเทศอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย

แผนการลดใช้สารเคมีจะเน้นให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงและสินค้าที่มีศักยภาพสูงสุดในการนำกลับใช้ในเศรษฐกิจหมุนเวียนก่อน รวมถึงการระบุถึงผลกระทบจากการได้รับสารเคมีหลายชนิด (cocktail effect) โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากการสัมผัสกับสารเคมีหลายชนิดจากแหล่งต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน อียูจึงเสนอให้มีข้อกำหนดสำหรับข้อมูลของสารเคมีภายใต้ “Sustainable Product Policy Initiative” เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลของสารเคมีและทราบถึงวิธีการนำสารเคมีมาใช้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

การควบคุมให้สารเคมีนั้นปลอดภัยและยั่งยืนมากขึ้นเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเศรษฐกิจ เนื่องจากยุทธศาสตร์สารเคมีของอียูจะสามารถใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนอุตสาหกรรมเคมีและห่วงโซ่คุณค่าสู่เศรษฐกิจที่เขียวที่ยั่งยืน โดยมุ่งเปลี่ยนตั้งแต่การออกแบบสารเคมีให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนตลอดอายุการใช้งาน เพื่อลดความเสี่ยง/ผลกระทบของสารเคมีต่อสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากร ระบบนิเวศน์ และความหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ อียูจะสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการพัฒนาและการนำสารเคมีที่ปลอดภัยและยั่งยืนมาใช้ รวมถึงกำหนดวาระการวิจัยและนวัตกรรมด้านสารเคมีของอียู เพื่อเติมช่องว่างความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมี ส่งเสริมนวัตกรรม และหลีกเลี่ยงการทดสอบสารเคมีในสัตว์

อียูมีแผนจะปรับปรุงกฎระเบียบด้านสารเคมีให้เข้าใจง่ายและรวมกรอบกฎหมายอียู อาทิ เสนอกระบวนการ “one substance one assessment” เพื่อสนับสนุนหลักการ “no data, no market” ของกฎระเบียบ REACH ในการพิจารณาความเสี่ยงของสารเคมีก่อนอนุญาตให้จำหน่ายสู่ตลาดอียู และเสนอเป้าหมายในการปรับปรุงกฎระเบียบ REACH เป็นต้น อีกทั้ง อียูได้กำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มการบังคับใช้กฎระเบียบอียู ทั้ง ณ ด่านตรวจสินค้าและภายในตลาดเดียวของอียู

อีกเรื่องที่สาคัญ คือ อียูจะเริ่มพิจารณาห้ามบริษัทอียูผลิตสารเคมีและยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ/สิ่งแวดล้อม และไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอียูแล้ว เพื่อส่งออกไปยังประเทศที่สาม (ปัจจุบันยังมีการผลิตเพื่อการส่งออก) ซึ่งกฎระเบียบอียูมีการคุมเข้มเรื่องสินค้าที่นำเข้ามาในอียูอยู่แล้ว ดังนั้นอียูจะพิจารณาควบคุมสินค้าที่ส่งออกจากอียู โดยต้องมั่นใจว่าสินค้านั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภคในต่างประเทศเช่นกัน โดยแหล่งข่าวได้รายงานว่า อียูต้องการแสดงให้เห็นถึงการ “lead by example” ในการเป็นผู้นำเรื่องมาตรฐานทั้งในเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในเวทีโลกตามแผนนโยบายกรีนดีล ซึ่งอาจมีการแก้ไขกฎระเบียบปัจจุบันให้สอดคล้องกับความตั้งใจและแผนยุทธศาสตร์สารเคมีของอียูฉบับใหม่นี้ในลำดับต่อไป

ดังนั้น การผลิตสินค้าในปัจจุบันจึงควรพยายามลดการใช้สารเคมีที่ไม่จำเป็นลงหรือเปลี่ยนมาใช้สารเคมีที่ปลอดภัยและยั่งยืนแทน โดยเฉพาะสินค้าสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อียูจะเข้มงวดเป็นพิเศษ อาทิ ของเล่นและเสื้อผ้าเด็ก เป็นต้น เพื่อเป็นการขยายตลาดสินค้าและเพิ่มขีดการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดอียู

***************

ข้อมูลจาก

https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/ip_20_1839

https://ec.europa.eu/environment/strategy/chemicals-strategy_en

https://ec.europa.eu/environment/pdf/chemicals/2020/10/Strategy.pdf

https://www.euractiv.com/section/agriculture-food/news/commission-to-consider-halting-export-of-banned-pesticides-eu-source-says/

(credit ภาพประกอบ: https://all-free-download.com/)

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ