วันที่นำเข้าข้อมูล 4 ก.พ. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565
อียูมีกำหนดเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งทอที่ยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัตถุดิบและน้ำในขั้นตอนกระบวนการผลิตในปริมาณสูงเป็นลำดับที่ 4 รองจากอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการขนส่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงเป็นลำดับที่ 5 ดังนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 55 ภายปี ค.ศ. 2030 และมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจปลอดคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 ตามแผนนโยบายกรีนดีล อียูจึงมีกำหนดการที่จะเสนอแผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งทอที่ยั่งยืนในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 นี้
แผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งทอที่ยั่งยืน มีเป้าหมายในการมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอให้ฟื้นตัวจากวิกฤต Covid-19 อย่างยั่งยืน โดย 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าสิ่งทอ 2) นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตสินค้า การบริโภค การจัดการของเสีย และการใช้วัตถุดิบทุติยภูมิ (secondary raw material) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทนทาน ใช้ซ้ำได้ ซ่อมแซมได้สะดวก เอื้อต่อการนำไปรีไซเคิล และประหยัดพลังงานในขั้นตอนกระบวนการผลิตมากขึ้น อาทิ ส่งเสริมการออกแบบตามหลักการ Eco-design และ 3) เพิ่มการลงทุนในงานวิจัยและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้สหภาพยุโรปเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน เป็นกลางต่อสภาพอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 63 สภายุโรปได้ออกรายงานและเผยแพร่สื่อ Infographic เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงของเสียและขยะจากอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากกระแส fast fashion หรือเสื้อผ้าร่วมสมัยที่มีราคาถูกซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานระยะสั้น เน้นการแข่งขันด้านราคา ทำให้ผู้ผลิตต้องลดต้นทุนในการผลิตและลดความสาคัญด้านความคงทนและความยั่งยืน โดยสภายุโรปได้สรุปผลกระทบจากอุตสาหกรรมสิ่งทอต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) การใช้น้ำ อุตสาหกรรมสิ่งทอใช้ทรัพยากรน้ำในการกระบวนการผลิตสูง รวมถึงใช้พื้นที่ทางการเกษตรในการปลูกต้นฝ้ายและเส้นใยอื่น ๆ อย่างเช่น การผลิตเสื้อยืด 1 ตัว ต้องใช้น้ำ 2,700 ลิตร
2) มลพิษทางน้ำ อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นผู้ปล่อยมลพิษทางน้ำประมาณร้อยละ 20 จากน้ำสะอาดทั่วโลก เนื่องจากสีย้อมผ้าและสารเคมีที่ใช้เคลือบผ้า รวมถึงการปนเปื้อนของไมโครไฟเบอร์ ซึ่งการซักผ้าเส้นใยสังเคราะห์ 1 ครั้ง ผลิตไมโครไฟเบอร์ 700,000 เส้น ซึ่งเศษพลาสติกนี้อาจไปปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารได้ ทั้งนี้ จากสถิติปี ค.ศ. 2017 รายงานว่า การซักผ้าเส้นใยสังเคราะห์เป็นต้นเหตุของการปนเปื้อนของไมโครไฟเบอร์กว่า 0.5 ล้านตันในมหาสมุทรต่อปี
3) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุตสาหกรรมแฟชั่น อาทิ การผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า มีส่วนรับผิดชอบในการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกประมาณร้อย 10 ซึ่งมีปริมาณมากกว่าก๊าซคาร์บอนจากอุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศและการขนส่งทางทะเลรวมกัน
4) การฝังกลบของขยะสิ่งทอ ปัจจุบัน ชาวยุโรปใช้สิ่งทอประมาณ 26 กิโลกรัมและทิ้งประมาณ 11 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แม้เสื้อผ้าที่ใช้แล้วสามารถส่งออกนอกอียูได้ แต่ส่วนใหญ่หรือ 87% ของเสื้อผ้าที่ใช้แล้วนั้นถูกนำไปเผาหรือฝังกลบ ซึ่งจากสถิติปี ค.ศ. 2017 รายงานว่า ทั่วโลกมีการรีไซเคิลขยะสิ่ง ทอเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ซึ่งคาดว่าสาเหตุมาจากการที่มีเทคโนโลยีไม่เพียงพอ
ภายใต้กฎหมายด้านการจัดการขยะในอียูฉบับปัจจุบันระบุไว้ว่า ประเทศสมาชิกจะต้องมีการจัดเก็บขยะในครัวเรือนที่เป็นอันตรายแยกออกจากกันภายในปี 2565 ขยะชีวภาพภายในปี 2566 และขยะสิ่งทอภายในปี 2568 ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งทอที่ยั่งยืนฉบับใหม่นี้ จะมีการกาหนดแนวทางปฏิบัติสาหรับการจัดเก็บขยะสิ่งทอแยกจากขยะทั่วไป และมาตรการส่งเสริมการใช้วัสดุและการผลิตเพื่อความหมุนเวียน รวมถึงเผยแพร่ข้อแนะนาในการจัดการกับสารเคมีอันตรายและการเลือกซื้อสิ่งทอเพื่อที่ยั่งยืน ซึ่งผู้ผลิตอาจพิจารณาติดฉลาก EU Ecolabel หรือ ฉลากรับรองว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดผู้บริโภคอียูและเพิ่มขีดการแข่งขันให้สินค้าสิ่งทอจากไทย
อียูมิได้นิ่งเฉยเรื่องผลกระทบของขยะสิ่งทอต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ อียูได้มีการสนับสนุนโครงการ RESYNTEX ภายใต้งบประมาณจากโครงการ Horizon2020 เพื่อศึกษาการรีไซเคิลสารเคมีจากสิ่งทอ ซึ่งมีโอกาสในการนำมาปรับใช้เป็นรูปแบบธุรกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนสาหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอในอนาคต ทั้งนี้ นาย Huitema ส.ส. ยุโรป กล่าวว่า รูปแบบธุรกิจสิ่งทอที่ยั่งยืนนั้นมีศักยภาพที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากวิกฤตโควิดทาให้อียูเห็นความเปราะบางของห่วงโซ่การผลิต ดังนั้น การส่งเสริมรูปแบบธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมใหม่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงานใหม่ที่เป็นปัจจัยสาคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัว
สุดท้ายนี้ หากผู้ประกอบการไทยหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะสำหรับแผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งทอที่ยั่งยืนของอียูนี้ สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ ที่นี่ ซึ่งอียูจะเปิดรับฟัง Public Consultation ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
ทีมา:
https://www.europarl.europa.eu/news/en/headlines/society/20201208STO93327/the-impact-of-textile-production-and-waste-on-the-environment-infographic
https://ec.europa.eu/info/law/better-regulation/have-your-say/initiatives/12822-EU-strategy-for-sustainable-textiles
https://ec.europa.eu/growth/industry/sustainability/textiles_en
https://ec.europa.eu/info/news/new-waste-rules-will-make-eu-global-front-runner-waste-management-and-recycling-2018-apr-18_en
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์)