วันที่นำเข้าข้อมูล 4 ธ.ค. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 สถาบัน European Policy Center (EPC) ได้จัดประชุมออนไลน์ หัวข้อ “Innovative Solutions for a Circular Economy” โดยเชิญวิทยากรด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมจากภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเปลี่ยนสู่
เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน รวมถึงอุปสรรคในการขยายงานวิจัยสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม (scale-up)
และสำรวจเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป โดยมีการแสดง
ความคิดเห็น ดังนี้
1) นาย William Neale ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการพัฒนาสีเขียว คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม เน้นย้าถึงบทบาทของวัตถุดิบ (raw materials) ในเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน ซึ่งทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันในการมุ่งพัฒนาให้ทรัพยากรคงอยู่และ/หรือนำกลับมาใช้ในเศรษฐกิจให้ได้นานที่สุด โดยเสนอแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ (1) การนำข้อมูลทางเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนานโยบายที่เหมาะสม (2) การใช้ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ICT ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการหมุนเวียนสูง อาทิ
การสร้าง ICT data center และ (3) การใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าขยะ โดยรักษาคุณสมบัติของทรัพยากรให้คงไว้ เพื่อให้นำมารีไซเคิลได้ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปได้เสนอให้มีการออก “Digital Product Passports”
เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของผลิตภัณฑ์ ความคงทน ส่วนประกอบ การซ่อมแซม และข้อมูล สาหรับการรีไซเคิล ซึ่งในชั้นนี้ คาดว่า สหภาพยุโรปจะประกาศใช้มาตรการนี้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2564
2) นาง Sirpa Pietikäinen สมาชิกสภายุโรป พรรค EPP กล่าวสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ หมุนเวียนของยุโรป (EU Circular Economy Action Plan) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการออกแบบสินค้า
เพื่อความยังยืน อย่างเช่น การเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมให้สามารถซ่อมแซมและ/หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าเพื่อการจำหน่ายเพียงอย่างเดียวสู่ธุรกิจที่ให้บริการ สินค้าเพิ่มเติม (servitization) อาทิ บริษัทให้บริการพาเล็ตและบริษัทให้บริการเช่ารถ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ ผู้บริโภค “เช่า” แทน “ซื้อ” ลดการสร้างขยะที่ไม่จาเป็น อีกทั้งยังเสนอให้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น
3) นาย Sveinung Rotevatn รัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมประเทศนอร์เวย์ กล่าวว่า นอร์เวย์สนับสนุนนโยบายปฏิรูปสีเขียว (European Green Deal) และแผนยุทธศาตร์ด้านอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปในการเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจ “ดิจิทัลและสีเขียว” ซึ่งนอร์เวย์ได้เปิดตัวเว็บ “The Explorer” หรือ เว็บไซต์จับคู่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อให้ภาคส่วนที่สนใจสามารถทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและข้อมูล
ผู้ติดต่อที่เกี่ยวข้องในประเทศนอร์เวย์ได้โดยตรง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสีเขียว มุ่งลด
การปล่อยคาร์บอน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
4) นาย Tom Eng รองประธานอาวุโส บริษัท Tomra ได้กล่าวถึงบทบาทของบริษัท Tomra
ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาขยะ โดยการแยกขยะที่มีศักยภาพมารีไซเคิล อาทิ เครื่องจักร สำหรับการเก็บและคัดแยกขยะ เครื่องรับซื้อบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล หรือเครื่อง RVM (Reverse Vending Machines) สำหรับการจัดการขยะประเภทขวดพลาสติกและกระป๋องอลูมิเนียมในเครื่องเดียวกัน และเซ็นเซอร์สำหรับใช้แยกขยะในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมรีไซเคิล และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งนำไปสู่การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ย้ำถึงความสำคัญของการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยยกตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี Deep Learning (DL) ของ AI มาใช้ในการแยกประเภทของขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็น PET HDPE PVC หรือ PP เพื่อให้สามารถนำขยะพลาสติกแต่ละประเภทกลับมาใช้ได้อีก
5) นาย Nicolas Schäfstoß ที่ปรึกษาด้านนโยบายจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมคุ้มครองธรรมชาติ
และความปลอดภัยทางปรมาณู (BMU) ประเทศเยอรมนี กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของสหภาพยุโรป และความจำเป็นในการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลเพื่อประโยชน์ของภาครัฐ โดยการส่งเสริมให้อุตสาหกรรม ICT มีความยั่งยืน อาทิ การสร้างศูนย์เก็บข้อมูลปลอดคาร์บอน ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ และการออก “Digital Product Passports” เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าสำหรับสินค้า ICT ที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ดี ที่ประชุมฯ เห็นพ้องว่า มาตรการลดหย่อนด้านภาษีนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน
การ scale-up ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีในระยะแรกนั้นต้องใช้เงินทุนสูง อีกทั้งในบริบทของยุคโควิดที่ทำให้เห็นว่า สหภาพยุโรปต้องการโครงสร้างทางดิจิทัลที่แข็งแรง อาทิ เครื่อข่ายที่ประสิทธิภาพสูง และระบบการจัดการขยะจากครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้นช่วงโควิด อาทิ บรรจุภัณฑ์อาหารที่สั่งกลับบ้าน ซึ่งเป็นความท้าทายที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้น การเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
จึงต้องการความร่วมมือจากทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน
ทั้งนี้ เมื่อเดือนมีนาคม 2563 สหภาพยุโรปได้ออกแผนปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป (Circular Economy Action Plan- CEAP) โดยเสนอมาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนสินค้าในตลาดสหภาพยุโรปให้เป็นสินค้าเพื่อความยั่งยืน และเพิ่มอัตราการใช้วัสดุหมุนเวียนของสหภาพยุโรป มุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียว และขณะนี้อียูอยู่ระหว่างจัดทำกฎหมาย 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การกำหนดมาตรฐานสินค้า
เพื่อความยั่งยืน 2) การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น
ในการตัดสินใจเลือกใช้สินค้ายั่งยืน และ 3) การกำหนดมาตรฐานของฉลากสีเขียว เพื่อป้องกันฉลากสีเขียวปลอม ซึ่งทางทีมงาน Thaieurope.net จะคอยติดตามพัฒนาการของกฎหมายดังกล่าวเพื่อมาอัพเดตให้ผู้อ่านทราบต่อไป
***************
Credit ภาพปก: Michael Schwarzenberger from Pixabay
รูปภาพประกอบ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์)