EIB เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยผลกระทบโดยรวมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อแผนการลงทุนภาคธุรกิจสหภาพยุโรปในระยะข้างหน้า

EIB เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยผลกระทบโดยรวมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อแผนการลงทุนภาคธุรกิจสหภาพยุโรปในระยะข้างหน้า

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 ธ.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 885 view

ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (European Investment Bank- EIB) พบว่า บริษัทสัญชาติยุโรปร้อยละ 48 มีแนวโน้มชะลอการขยายการลงทุนออกไปเนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบโดยรวมจาก
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อภาวะทางเศรษฐกิจ ทิศทางทางการเมือง กฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ
ที่ภาครัฐต้องการผลักดันภายหลังจากนี้ ขณะที่ Top 3 ของเรื่องที่กังวลมากที่สุด ได้แก่ (1) การปรับตัวให้สอดรับกับนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ 58) (2) ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ (ร้อยละ 73) และ (3) ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อภาวะเศรษฐกิจ (ร้อยละ 81)

ทั้งนี้ นาง Debora Revoltella หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ EIB ชี้ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจและทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป บริษัทจำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ ทั้งแผนการลงทุน การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล การดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางและนโยบายของภาครัฐที่ต้องการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง
การปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการโลจิสติกส์ซัพพลายเชน จึงจะทำให้ธุรกิจนั้นกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ปัจจุบันพบว่า มีผู้ประกอบการสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 51 เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีขั้นต้นมาใช้เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล และใช้ประโยชน์จากธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น โดยร้อยละ 12 มีการพัฒนาแพลตฟอร์มแบบดิจิทัลเนทีฟ (digital native) มาผนวกใช้งานในธุรกิจของตน โดยเฉพาะภาคธุรกิจการเงินการธนาคารที่ต้องหันมาใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Block Chain) เพื่อช่วยเรื่อง
ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการนำซอฟแวร์และไอทีมาใช้ในระบบให้บริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ (FinTech) เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัลได้ ในขณะที่ผู้ประกอบการอีกร้อยละ 37 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในด้านดังกล่าว

นอกจากนี้ ในการสำรวจพบข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งว่า บริษัทสัญชาติยุโรปเกือบร้อยละ 47 ได้เพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยี และการประหยัดพลังงาน (energy efficiency) อย่างต่อเนื่องจากปี 2562
ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 38 เป็นการสะท้อนให้เห็นเทรนด์ของภาคธุรกิจสหภาพยุโรปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานภายในองค์กรเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการมีส่วนร่วม
ในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลก รวมทั้งสหภาพยุโรปให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในด้านการผลิตและการใช้พลังงานขององค์กร การจ้างเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านสภาพภูมิอากาศ (climate change officer) เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมาย
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือการตรวจวัด
การใช้พลังงานในโรงงานหรืออาคาร (Energy Audit) เป็นต้น

**************

ที่มา: https://www.politico.eu/wp-content/uploads/2020/11/30/eibis_2020_european_union_en-003.pdf

 

Credit ภาพปก: https://www.ft.com/content/940b71f2-a3c2-11e9-a282-2df48f366f7d

 

ธนาคารเพื่อการลงทุนยุโรป

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ