ประเด็นสำคัญในการประชุมสุดยอด US - EU 2023 (US - EU Summit 2023)

ประเด็นสำคัญในการประชุมสุดยอด US - EU 2023 (US - EU Summit 2023)

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 พ.ย. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 พ.ย. 2566

| 685 view

US-EU_Summit

การประชุมสุดยอด US – EU (US – EU Summit) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. สถานการณ์ในตะวันออกกลาง

- ประณามการโจมตีของกลุ่มฮามาส และย้ำสิทธิปกป้องตนเองของอิสราเอลตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรม

- จะร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนในตะวันออกกลางเพื่อคุ้มครองพลเรือน และให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม

- แสดงความกังวลต่อวิกฤตทางมนุษยธรรมในฉนวนกาซา

 

  1. สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

- สนับสนุนยูเครนด้านการเมือง การเงิน มนุษยธรรม และการทหาร

- เรียกร้องให้รัสเซียยุติสงครามและถอนกองกำลังทหาร

- สนับสนุนข้อริเริ่มสันติภาพของยูเครน

- เรียกร้องให้รัสเซียรับผิดชอบและชดใช้ความเสียหายแก่ยูเครน

 

  1. อินโด-แปซิฟิก

- สนับสนุน Free and Open Indo-Pacific (FOIP) โดยจะประสานความร่วมมือผ่านกลไก US – EU Indo-Pacific Consultations

- ส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนความเป็นเอกภาพของอาเซียน

- ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ภายใต้ Pacific Islands Forum’s 2050 Strategy for the Blue Pacific Continent

- สนับสนุนการบังคับใช้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea: UNCLOS) และกลไกในการจัดการข้อพิพาทตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

  1. จีน

- สร้างความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ มีเสถียรภาพ และตรงไปตรงมา

- เรียกร้องให้จีนร่วมมือกับสหรัฐฯ และ EU ในประเด็นระหว่างประเทศ อาทิ วิกฤติสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ สาธารณสุข และเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค

- ผลักดันให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรมกับจีน

- แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก และเน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาอย่างสันติ

 

  1. ความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนา

- มุ่งมั่นที่จะเพิ่มสัมปทานให้ธนาคารโลกเพื่อช่วยประเทศรายได้ต่ำ/ปานกลาง

- ระดมทุน 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศรายได้ต่ำ/ปานกลาง ผ่านกรอบความร่วมมือ G7 และ EU

 

  1. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

- ส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและแข่งขันกันอย่างเท่าเทียม

- ร่วมมือกันผ่านกลไก US – EU Trade and Technology Council (TTC) กลุ่มประเทศ G7 และหุ้นส่วนอื่น ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

- ร่วมหารือในประเด็นการให้สมาชิก WTO ทุกประเทศสามารถเข้าถึงระบบการจัดการข้อพิพาทของ WTO ได้อย่างเต็มรูปแบบ

 

  1. สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

- ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกันผ่านกลไก Joint Energy Security Task Force และ US – EU Energy Council

- จะขอความร่วมมือให้ประเทศที่สามเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกที่ 1.5 องศา และเพิ่มการใช้งานพลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์