บทบาทของเดนมาร์กในการประชุม COP28

บทบาทของเดนมาร์กในการประชุม COP28

วันที่นำเข้าข้อมูล 3 ม.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 3 ม.ค. 2567

| 1,258 view

Green_Illustrated_Earth_Day_Poster

            1.Global South Green Corridors (GSGC) เป็นความร่วมมือด้านทรัพยากรและการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของโครงการ  green corridors ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทะเลที่ใช้เทคโนโลยีและเชื้อเพลิงที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและเป็นศูนย์ ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศอเมริกา  กระทรวงพลังงานของอเมริกา และรัฐบาลเดนมาร์ก โครงการดังกล่าว   มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่า green corridors เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาและทำให้เกิด            green maritime transition ที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกันโดยพันธมิตรของโครงการจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับชาติและท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

            2.Beyond Oil and Gas Alliance (BOGA) การประชุม COP28 ครั้งนี้มีประเทศสนใจเข้าร่วมข้อริเริ่มของเดนมาร์กเพิ่มเติม ได้แก่ สเปน เคนยา และซามัว โดย BOGA เป็นโครงการพันธมิตรร่วมกับประเทศต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยุติการผลิตน้ำมันและก๊าซในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนประเทศพันธมิตรกว่า              24 ประเทศ โดยแต่ละประเทศจะดำเนินการยกเลิก การสำรวจ การสกัด และการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อให้สอดรับกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก

            3.Group of Negative Emitters (GONE) เดนมาร์กได้เปิดตัวกลุ่ม GONE ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตร ประกอบด้วยฟินแลนด์ ปานามา และเดนมาร์ก โดยให้ความสำคัญกับการปกป้องและขยายป่าไม้และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการลดคาร์บอนซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน

            4.Green solutions สำหรับภาคการขนส่ง เดนมาร์กมีบทบาทสำคัญในฐานะประเทศที่มีความโดดเด่นในภาค  การขนส่งทางทะเล หน่วยงาน             State of Green ได้เผยแพร่เอกสาร white paper เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับความพยายามระดับโลก  ในด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

            5.Green solutions สำหรับภาคการผลิตอาหารที่ยั่งยืน เดนมาร์กได้นำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่เป็นนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายในการผลิตอาหารที่ยั่งยืน เนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารทั่วโลกมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1 ใน 3 และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของเดนมาร์กใน COP28 ถือเป็นก้าวสำคัญสู่ความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศ

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก สอท. ณ กรุงโคเปนเฮเกน