การประชุม Quadrilateral Summit เกี่ยวกับปัญหาในซีเรีย

การประชุม Quadrilateral Summit เกี่ยวกับปัญหาในซีเรีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 31 ต.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,881 view

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2561 นาย Recep Tayyip Erdoğan ปธน. ตุรกีเป็นเจ้าภาพ กปช. สุดยอดผู้นำจตุรภาคี (Quadrilateral Summit) ร่วมกับนาง Angela Merkel นรม. เยอรมนี นาย Emmanuel Macron ปธน. ฝรั่งเศส และ นาย Vladimir Putin ปธน. รัสเซีย เกี่ยวกับสถานการณ์ในซีเรีย ณ ทำเนียบ ปธน. นครอิสตันบูล ภายหลัง กปช. ผู้นำทั้งสี่ประเทศได้มีการแถลงการณ์ร่วม (Joint communique) โดยมีสาระสำคัญได้แก่ 1) สนับสนุนให้ซีเรียแก้ไขปัญหาการเมืองภายใต้การสนับสนุนของ UN และเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ มีส่วนร่วมในขบวนการแก้ไขปัญหา 2) เรียกร้องให้มีการจัดตั้ง คกก. ร่าง รธน. ภายในสิ้นปีนี้ 3) ย้ำการแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาที่สอดคล้องกับข้อมติ UNSC 2254 และต่อต้านการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้กำลังทหาร 4) รับทราบการบรรจุข้อตกลง demilitarization ในจังหวัดอิดลิบ (Idlib) การถอนอาวุธและกลุ่มหัวรุนแรงออกจาก demilitarized zone ระหว่างตุรกีกับรัสเซีย และต่อต้านการใช้อาวุธเคมีทุกชนิด 5) ย้ำความมุ่งมั่นในการต่อต้าน กกร. ในซีเรีย และ 6) สนับสนุนการเพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการกลับคืนถิ่นของผู้หนีภัยชาวซีเรียในตุรกี เลบานอน และจอร์แดน ด้วยความสมัครใจและปลอดภัย

นอกจากนี้ ปธน. รัสเซียกล่าวว่า มาตรการในข้อตกลง demilitarization ดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวและรัสเซียยังคงมีสิทธิในการให้ความช่วยเหลือรัฐบาลซีเรียในการต่อต้าน กกร. 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าการจัด กปช. ดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์ทางการทูตของปธน. ตุรกีในการโน้มน้าวให้ฝรั่งเศสและเยอรมนีสนับสนุนกระบวนการอัสตานา และในขณะเดียวกัน ตุรกียังต้องการสร้างความสัมพันธ์กับยุโรปเพื่อคานอำนาจกับรัสเซียที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรีย รวมทั้ง เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาผู้อพยพเพิ่มขึ้นจาก จ. Idlib เข้ามาในตุรกีอีกด้วย 

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ยังมองว่า กปช. ดังกล่าวซึ่งเป็นการหันเหออกจากกระบวนการเจนีวา แต่ขาดผู้เล่นสำคัญอื่น ๆ เช่น สหรัฐฯ ซีเรีย และอิหร่าน ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่สะท้อนฉันทามติระหว่างผู้นำทั้งสี่ประเทศเนื่องจากการมีท่าทีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ ฝรั่งเศสและเยอรมนีเข้าร่วม กปช. เพราะอยากให้ตุรกีและรัสเซียให้หลักประกันว่าข้อตกลงเขตปลอดทหารจะนำไปสู่การเจรจาการหยุดยิงในซีเรียอย่างแท้จริง ในขณะที่ตุรกีกับรัสเซียต้องการให้ยุโรปสนับสนุนการปฏิรูปในซีเรีย 

*********************************************