Thailand’s Ratification of Protocol of 2014 to the Forced Labour Convention 1930
On 4 June 2018, H.E. Mr. Sek Wannamethee, Ambassador and Permanent Representative of the Kingdom of Thailand to the United Nations Office and other International Organizations in Geneva, accompanied H.E. Pol. Gen. Adul Sangsingkeo, Minister of Labour, to deposit the instrument of ratification for the Protocol of 2014 to the Forced Labour Convention, 1930 to H.E. Mr. Guy Ryder, Director-General of International Labour Organization (ILO), on behalf of the Royal Thai Government at Palais des Nations, Geneva, Switzerland. Thailand is the 24th member country of ILO, and the first in Asia, to deposit the Protocol.
Thailand has ratified ILO Convention No. 29 on Forced Labour, 1930 on 26 February 1969. Today, forced labour has evolved into complex situations that demand an updated response. In this connection, the Protocol was drafted to fill-in existing gaps, with special focus on the prevention, protection and remedy for victims of forced labour.
The ratification reassures Thailand’s commitments in the prevention and elimination of forced labour, the protection and remedy for victims of forced labour in Thailand. It also reflects Thailand’s intention to improve Thai labour standards. The Protocol will enter into force on 4 June 2019, 12 months after the ratification.
Currently, Thailand is drafting Prevention and Elimination of Forced Labour Act as an implementing legislation for the Protocol of 2014. The draft legislation will focus on improving the effectiveness of measures to prevent and suppress forced labour that are in line with the Convention No. 29 and the Protocol of 2014.
* * * * *
9 June 2018
ไทยยื่นสัตยาบันสารพิธีสาร ค.ศ. ๒๐๑๔ ของอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. ๑๙๓๐ อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ นายเสข วรรณเมธี เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ได้นำพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย ยื่นสัตยาบันสารพิธีสาร ค.ศ. ๒๐๑๔ ของอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. ๑๙๓๐ แก่นาย Guy Ryder ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยไทยเป็นประเทศลำดับที่ ๒๔ ของรัฐสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศและเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ยื่นสัตยาบันพิธีสารฯ ดังกล่าว
ไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization – ILO) ฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ ค.ศ. ๑๙๓๐ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ อย่างไรก็ดี เนื่องจากรูปแบบของการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ต่อมาจึงมีการพัฒนาพิธีสารฯ เพื่อปิดช่องว่างของอนุสัญญาฯ โดยเฉพาะในส่วนของมาตรการการป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา รวมทั้งการปราบปรามการใช้แรงงานบังคับให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การให้สัตยาบันพิธีสารฉบับนี้สะท้อนความมุ่งมั่นของไทยในการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับตลอดจนการคุ้มครอง ช่วยเหลือ และเยียวยาผู้เสียหายจากการใช้แรงงานบังคับในไทย รวมถึงสะท้อนเจตนารมณ์ของไทยในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงานของไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานแรงงานสากล โดยพิธีสารฯ จะมีผลบังคับใช้ในอีก ๑๒ เดือนถัดไป นับจากวันที่ให้สัตยาบัน หรือวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๒
นอกจากนี้ เพื่ออนุวัติการพิธีสารดังกล่าว รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .... ซึ่งมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับในประเทศและสอดคล้องกับทั้งอนุสัญญาฯ และพิธีสารฯ
* * * * *
๙ มิถุนายน ๒๕๖๑