Thai Court has fined three overseas fishing vessels for over 130 million Baht on illegal fishing charges ศาลไทยสั่งปรับเรือประมงนอกน่านน้ำจำนวน ๓ ลำ เป็นมูลค่ากว่า ๑๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในฐานทำการประมงผิดกฎหมาย

Thai Court has fined three overseas fishing vessels for over 130 million Baht on illegal fishing charges ศาลไทยสั่งปรับเรือประมงนอกน่านน้ำจำนวน ๓ ลำ เป็นมูลค่ากว่า ๑๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในฐานทำการประมงผิดกฎหมาย

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,145 view

On 28 December 2017, the Court of First Instance ruled that three fishing vessels titled “Yu Long 125”, “Yu Long 6” and “Hung Chi Fu 68” had violated the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 on three charges; (1) failing to comply with the Department of Fisheries’ Notification that all vessels without an overseas fishing license must return to port within the set deadline; (2) undertaking fishing in waters of other states and the high seas without permission; and (3) employing crews without seaman books. The fishing vessel company and its executives were ordered to pay a fine in total of 130,463,000 Thai Baht (approximately over 3.5 million Euros) as well as being sentenced to the maximum of 1 year and 15 months. Moreover, an administrative sanction was also applied, including (1) the confiscation of the fishing gear and aquatic animals aboard the vessels, (2) the detention of the vessels until the case completion, (3) the publication of the names of the vessels used in IUU fishing in accordance with Article 116 of the Royal Ordinance, and (4) the revocation of the vessels’ registration. The Department of Fisheries also proceeded to put the aquatic animals seized from the vessels up for auction.
 
Early in 2016 an inter-agency task force led by the Royal Thai Navy intercepted the above three vessels along with the other three vessels, namely Mook Andaman 018, Mook Andaman 028 and Ceribu and has detained them at the Phuket port. These six vessels are tuna trawlers that engaged in illegal fishing in the Indian Ocean. The remaining three vessels are still waiting for the decision of the trial court.
 
During the past two years, Thailand has captured and prosecuted 79 cases against overseas vessels, 51 of which have reached the final judgment, accounting for 64 percent of all the cases. Moreover, the Thai authorities have prosecuted another 1,065 cases of Thai and foreign vessels in Thai waters, including 184 foreign vessels illegally fishing in Thai waters. 817 out of the 1,065 cases, or 77 percent, have been concluded.
 
In addition, Thailand has implemented administrative sanctions alongside criminal proceedings. To date, the Administrative Sanction Committee has prosecuted 239 cases, including 66 cases of overseas fishing vessels, 103 cases of 30 GT-or-above Thai fishing vessels, and 67 cases of less-than-30 GT Thai fishing vessels. The penalties range from seizing the vessel, confiscating its fishing gear and aquatic animals, revoking its fishing license, and imposing fines which, so far, have totaled more than 43 million Baht (approximately over 1.1 million Euros).
 
Thailand has recently introduced a new measure to speed up the trial process by setting up two new special panels of judges within the Criminal Court to solely handle illegal fishing cases, as announced in the Criminal Court’s order on 29 January 2018. These cases will be deemed extraordinary and the court will aim to conclude all cases within six months after the charge accepted. Regarding the request for temporary release of the accused or defendants, due consideration will also be given to the circumstances relating to the alleged offence; whether it involves criminal networks or organizations or influential figures; and the impact of the alleged offence on the aquatic animal resources and environment. All these efforts reflect the Royal Thai Government’s endeavor to strengthen law enforcement to effectively prevent, deter and eliminate the illegal fishing, as intended in the Royal Ordinance on Fisheries.
 
 
 
ศาลไทยสั่งปรับเรือประมงนอกน่านน้ำจำนวน ๓ ลำ เป็นมูลค่ากว่า ๑๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในฐานทำการประมงผิดกฎหมาย
 
เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๐ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้เรือยู่หลง ๑๒๕ เรือยู่หลง ๖ และเรือฮงชิฟู ๖๘ มีความผิดตาม พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ใน ๓ ข้อกล่าวหา ได้แก่ (๑) ฝ่าฝืนประกาศของกรมประมง ที่กำหนดให้เรือประมงที่ไม่มีใบอนุญาตทำประมงนอกน่านน้ำกลับเข้าเทียบท่าภายในเวลาที่กำหนด (๒) ทำประมงในน่านน้ำของรัฐต่างประเทศและทะเลหลวงโดยไม่ได้รับอนุญาต และ (๓) เจ้าของเรือใช้คนประจำเรือ ซึ่งไม่มีหนังสือคนประจำเรือ โดยศาลตัดสินสั่งปรับบริษัทเรือและกรรมการบริษัทเป็นเงินรวม ๑๓๐,๔๖๓,๐๐๐ บาท พร้อมโทษจำคุกสูงสุด ๑ ปี ๑๕ เดือน นอกจากนี้ เรือทั้ง ๓ ลำ ยังถูกลงโทษมาตรการทางปกครอง ได้แก่ (๑) ยึดเครื่องมือทำการประมงและสัตว์น้ำ (๒) กักเรือไว้จนกว่าคดีจะสิ้นสุด (๓) ประกาศขึ้นเป็นเรือประมง ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๑๖ ของ พ.ร.ก. การประมงฯ และ (๔) ถูกเพิกถอนทะเบียนเรือ โดยกรมประมง ได้นำสัตว์น้ำที่ยึดได้ออกขายทอดตลาดด้วยแล้ว
 
ในช่วงต้นปี ๒๕๕๙ ทางการไทยนำโดยกองทัพเรือ ได้เข้าสกัดจับเรือทั้ง ๓ ลำข้างต้น พร้อมด้วยเรือ อีก ๓ ลำ ได้แก่ มุกอันดามัน ๐๑๘ มุกอันดามัน ๐๒๘ และเซริบู โดยเรือทั้ง ๖ ลำ เป็นเรืออวนลากจับปลาทูนา ซึ่งทำการประมงผิดกฎหมายในมหาสมุทรอินเดีย โดยเรืออีก ๓ ลำที่เหลือ ยังคงรอการตัดสินคดีของศาลชั้นต้น
 
ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา ไทยได้จับกุมและดำเนินคดีเรือประมงนอกน่านน้ำทั้งสิ้น ๗๙ คดี (๖๔ ลำ) คดีถึงที่สุดไปแล้ว ๕๑ คดี คิดเป็นร้อยละ ๖๔ ของคดีประมงนอกน่านน้ำทั้งหมด นอกจากนี้ ไทยยังได้ดำเนินคดีเรือประมงไทยในน่านน้ำและเรือต่างชาติทั้งสิ้นรวม ๑,๐๖๕ คดี โดยมีสถิติจับกุมเรือต่างชาติที่ลักลอบเข้ามา ทำประมงในน่านน้ำไทยรวม ๑๘๔ ลำ คดีถึงที่สุดแล้ว ๘๑๗ คดี คิดเป็นร้อยละ ๗๗ ของคดีทั้งหมด
 
นอกจากนี้ ไทยยังได้ใช้มาตรการทางปกครองควบคู่ไปกับโทษทางอาญา โดย ณ ปัจจุบัน คณะกรรมการมาตรการทางปกครองได้พิจารณาคดีไปแล้วทั้งสิ้น ๒๓๙ คดี ประกอบด้วยคดีเรือประมงนอกน่านน้ำ ๖๖ คดี เรือประมงไทย ขนาด ๓๐ ตันกรอสหรือมากกว่า ๑๐๓ คดี คดีเรือประมงไทย ขนาดต่ำกว่า ๓๐ ตันกรอส ๖๗ คดี โดยมีมาตรการลงโทษตามลำดับ ตั้งแต่การกักเรือ ยึดเครื่องมือทำการประมงและสัตว์น้ำ การเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมง ไปจนถึงการสั่งปรับผู้กระทำผิด ซึ่งมีจำนวนเงินที่สั่งปรับไปแล้วรวมมากกว่า ๔๓ ล้านบาท
 
ปัจจุบัน ไทยพยายามที่จะเร่งรัดการพิจารณาคดีให้รวดเร็วขึ้น โดยล่าสุดศาลอาญาได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๑ กำหนดให้จัดตั้งองค์คณะพิเศษขึ้น ๒ คณะ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีการทำประมงผิดกฎหมายเป็นการเฉพาะ และให้ถือเป็นคดีสามัญพิเศษ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาแล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน นับแต่วันฟ้อง และในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว จะต้องคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดว่า มีลักษณะเป็นเครือข่ายหรือองค์กรอาชญากรรมหรือเป็นผู้มีอิทธิพลหรือไม่ และความเสียหาย มีผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมเพียงใดด้วย เหล่านี้ คือความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการบังคับ ใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการป้องปรามการทำประมงผิดกฎหมาย อันเป็นตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.ก. การประมงฯ ต่อไป