Thailand’s effective fleet management and the deployment of police officers at the Fishing Monitoring Center ไทยจัดระเบียบกองเรือประมง และส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำการศูนย์เฝ้าระวังการทำประมง

Thailand’s effective fleet management and the deployment of police officers at the Fishing Monitoring Center ไทยจัดระเบียบกองเรือประมง และส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำการศูนย์เฝ้าระวังการทำประมง

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 990 view

Since the commencement of Thailand’s fisheries reform in 2015, the Royal Thai Government has put tremendous effort in managing its fishing fleet of more than 50,000 vessels. During 2015 to 2017, the Marine Department, the Department of Fisheries, and the Command Center for Combatting Illegal Fishing (CCCIF) have set up an inter-agency task force to conduct three rounds of fleet inspection for all sizes and types of fishing vessels, in order to gather accurate and precise data. During the inspection, the vessels were measured against the registered record, fishing gears were compared against the fishing license, and installation of the Vessel Monitoring System (VMS) was verified to ensure no tampering occurred. At the same time, the vessels were marked with unique identification numbers, and had their photos taken for a record. All of the gathered information was then recorded onto an electronic database for future reference and data search. This system is accessible to all relevant agencies, thus rendering ease of information exchange as well as increasing the effectiveness to the fleet management.
 
At present, Thailand’s fleet structure includes (1) 11,026 commercial fishing vessels in Thai waters, at the size of 10 GT and above, including 3,300 between-30-to-60 GT vessels and 2,800 above-60 GT vessels, and (2) 27,930 artisanal fishing vessels, both groups totaling 38,956 vessels. Compared with the number of 50,023 vessels in 2015, the fishing vessels in these two groups went down 22 percent. The (3) group comprises 15 overseas vessels, which are reduced from 76 vessels in 2015.
 
Around 6,000 30 TG-and-above vessels are legally required to install VMS which is monitored by the Fisheries Monitoring Center (FMC). Since 1 February 2018, 13 police officers were deployed to work full-time at the FMC to monitoring any illegal fishing.
 
Currently, the Marine Department’s fleet inspection is ongoing, with particular focus on the vessels reportedly sunk, damaged, destroyed, detained or sold to overseas, or altered to non-fishing purpose. The Thai authorities have traced back to vessels owners’ houses as well as have sought cooperation from other countries in verifying the status of these vessels. The Royal Thai Government will keep up our work to find out if these vessels still exist and where they are located to make sure that they will not be able to conduct any illegal fishing.
 
In addition to the fishing vessels inspection, Thailand has also inspected other types of support vessels such as fisheries transshipment vessels, reefers, oil tankers and fresh water tankers for fisheries. These vessels are required to legally register with the Department of Fisheries. During the inspection, if any of the fishing vessels is found with revoked vessel registration and without fishing license, or any support vessel without legal registration, they will be locked, painted, and marked, as well as recorded in the fleet database for their location and subjected to periodical inspections. To date there are 1,160 vessels being locked.
 
As part of the fleet reduction effort, the Thai authorities are undertaking measures to reduce the number of fishing vessels from the total fleet through license combination scheme, vessel replacement scheme, buy-back scheme, as well as entry-exit scheme. Vessels that remain thereafter will be demolished to ensure that they will not return to the system permanently.
 
Moreover, the Marine Department is in the process of amending two relevant laws, namely the Thai Vessel Act and the Navigation in Thai Waters Act, to be in line with the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558. The amendment aims (1) to improve fishing vessels’ condition and safety to meet international standards, (2) to develop an electronic port state measures to control the port-in port-out of vessels, namely the National Single Window (NSW), which is accessible to the Customs Department, the Marine Department, and the Fisheries Department, thereby providing more effective control of vessels in Thai waters, and (3) to better control and monitor all seafarers working in fishing vessels by developing control measures and registration of all seafarers in order to monitor their working conditions as well as their employment status to be in line with the international standards.
 
 
ไทยจัดระเบียบกองเรือประมง และส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำการศูนย์เฝ้าระวังการทำประมง
 
นับตั้งแต่ไทยปฏิรูปภาคการประมงมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ รัฐบาลไทยได้ดำเนินความพยายามอย่างยิ่งยวด ในการจัดระเบียบกองเรือประมงซึ่งมีอยู่มากกว่า ๕๐,๐๐๐ ลำ โดยในช่วงปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ กรมเจ้าท่า กรมประมง และศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ได้ผนึกกำลังภายใต้ชุดเฉพาะกิจร่วมกันดำเนินการสำรวจเรือประมงทุกลำ ทุกขนาด ทุกประเภททั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น ๓ รอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลจำนวนเรือประมงทั้งหมดที่ถูกต้องและชัดเจน โดยในการสำรวจแต่ละครั้งนั้น ได้มีการตรวจวัดขนาดเรือประมงเทียบกับทะเบียนเรือ ตรวจประเภทของเครื่องมือทำการประมงเทียบกับใบอนุญาต ตรวจสอบการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (VMS) และการตรึงอุปกรณ์มิให้ถูกเคลื่อนย้าย จัดทำเครื่องหมายอัตลักษณ์ประจำเรือ การจัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายของเรือ และรวบรวมเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเรือประมง ทำให้การตรวจสอบทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทำให้การบริหารจัดการกองเรือประมงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
ณ ปัจจุบัน ไทยมีโครงสร้างกองเรือดังนี้ (๑) เรือประมงพาณิชย์ในน่านน้ำขนาด ๑๐ ตันกรอสขึ้นไปจำนวนประมาณ ๑๑,๐๒๖ ลำ โดยเป็นเรือที่มีขนาด ๓๐ ถึงน้อยกว่า ๖๐ ตันกรอส ประมาณ ๓,๓๐๐ ลำ และ ๖๐ ตันกรอสขึ้นไปประมาณ ๒,๘๐๐ ลำ (๒) เรือประมงพื้นบ้านประมาณ ๒๗,๙๓๐ ลำ รวมเรือสองกลุ่มแรกนี้เป็นจำนวนประมาณ ๓๘,๙๕๖ ลำ เมื่อเทียบกับจำนวน ๕๐,๐๒๓ ลำ ในปี ๒๕๕๘ เท่ากับจำนวนลดลงไป ร้อยละ ๒๒ และ (๓) เรือนอกน่านน้ำจำนวน ๑๕ ลำ ลดลงจาก ๗๖ ลำ ในปี ๒๕๕๘
 
ทั้งนี้ เรือที่มีขนาด ๓๐ ตันกรอสขึ้นไป รวมประมาณ ๖,๐๐๐ ลำ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ VMS ตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการติดตามเฝ้าระวังโดยศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง (FMC) โดยขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ๑๓ นาย ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมายของเรือเหล่านี้
 
ขณะนี้ กรมเจ้าท่ายังคงทำการสำรวจเรือรอบต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเรือที่มีแจ้งว่า จม ชำรุด ถูกทำลาย ถูกกักหรือถูกขายไปยังต่างประเทศ หรือถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานไปแล้ว โดยได้มีการติดตามไปถึงบ้านของเจ้าของเรือ รวมถึงประสานไปยังประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบสถานะเรือกลุ่มนี้อีกทางด้วย โดยไทยจะติดตามจนถึงที่สุดว่าเรือเหล่านี้ยังมีอยู่จริงหรือไม่ และอยู่ที่ใด เพื่อให้มั่นใจว่าเรือเหล่านี้จะไม่มีทางไปลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย
 
นอกจากการสำรวจเรือประมงทั้งหมดแล้ว ไทยยังได้สำรวจเรือประเภทอื่น ๆ ที่สนับสนุนการทำประมงด้วย ได้แก่ เรือขนถ่ายประมง เรือบรรทุกห้องเย็นประมง เรือบรรทุกน้ำมันและน้ำจืดที่ใช้กับเรือประมง รวมทั้ง ได้นำเรือเหล่านี้เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมโดยกำหนดให้ต้องมาจดทะเบียนกับกรมประมงอย่างถูกต้องด้วย ในการสำรวจดังกล่าว หากพบเรือประมงที่ถูกเพิกถอนทะเบียนเรือไปแล้วและไม่มีใบอนุญาตทำประมง รวมทั้งเรือสนับสนุนการทำประมงที่ไม่ได้มาจดทะเบียนอย่างถูกต้อง จะถูกควบคุมโดยการล็อกเรือ ทาสี และทำเครื่องหมายบนเรือ พร้อมบันทึกข้อมูลดังกล่าวในฐานข้อมูลกองเรือ เพื่อให้ทราบถึงจุดจอดเรือและติดตามตรวจสอบเรือเป็นระยะ ปัจจุบันมีเรือที่ถูกล็อกทั้งสิ้นประมาณ ๑,๑๖๐ ลำ
 
สำหรับเรือประมงส่วนเกิน ทางการไทยมีมาตรการจำกัดออกจากระบบ โดยผ่านการควบรวมใบอนุญาต การแลกเปลี่ยนเรือ การซื้อเรือคืน และการควบคุมเรือเข้า-ออก โดยจะนำเรือที่ผ่านมาตรการเหล่านี้ไปทำลาย เพื่อเอาออกจากระบบอย่างถาวร
 
นอกจากนี้ กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒ ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. เรือไทย และ พ.ร.บ. การเดินเรือ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีเป้าหมาย (๑) ปรับปรุงสภาพเรือและความปลอดภัยของเรือประมงให้ได้มาตรฐานสากล (๒) ยกระดับมาตรการควบคุมเรือเข้า-ออกตามมาตรการควบคุมของรัฐเมืองท่าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเชื่อมโยงกันระหว่างกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า และกรมประมง ทำให้กำกับดูแลเรือที่เข้ามาในน่านน้ำไทยได้มีประสิทธิมากยิ่งขึ้น และ (๓) ยกระดับการควบคุมและกำกับดูแลผู้ทำการในเรือประมง โดยพัฒนามาตรการควบคุมและขึ้นทะเบียนผู้ทำการในเรือประมง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการทำงาน การจ้างงานของผู้ทำการเรือประมงได้ตามมาตรฐานสากล