Thailand prosecuted 7 Stateless Fishing Vessels ไทยดำเนินคดีกับเรือไร้สัญชาติจำนวน ๗ ลำ

Thailand prosecuted 7 Stateless Fishing Vessels ไทยดำเนินคดีกับเรือไร้สัญชาติจำนวน ๗ ลำ

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,141 view

          From December 2017 - February 2018, the Thai public prosecutors have prosecuted 7 stateless fishing vessels on three offences, namely, the falsification of Port-in Port-out documents and provision of fraudulent reports to the competent port authority; employing fishing crews with no work permits; and human-trafficking of 9 Indonesian crew and 6 Filipino crew, totaling 15 persons, who were found to be victims of forced labour onboard. Further investigation led to the arrest and prosecution of the recruitment agent with human-trafficking offences.
 
          All 7 fishing vessels – Abundant 1, Abundant 3, Abundant 6, Abundant 9, Abundant 12, Yutana No. 13, and Shun Lai - were pelagic longline fleet fishing for tuna. They ported at the Port in Phuket Province, claiming to be carrying out repair of the vessels. The Command Center for Combating Illegal Fishing (CCCIF) then issued an order to the officers to investigate the vessels on 13 November 2016 and found an anomaly with the vessel registrations which specified that all vessels were Bolivian-flagged. The Phuket office of the Marine Department then made an enquiry to the Bolivian authority to verify the information and was later informed on 15 November 2016 that those vessels were neither registered in Bolivia nor granted Bolivian fishing license. The Thai authorities then proceeded to charge 3 representatives of the vessel owners.
 
          The police issued the arrest warrants for the captains and impounded all 7 vessels while the criminal case was in process. Officials from the Department of Fisheries also examined the logbooks and the Vessel Monitoring System (VMS) onboard while Customs officers examined the catch, which was not found. Meanwhile, CCCIF delivered humanitarian assistance to all the crew and, after the interrogation by the Royal Thai Police, all of the crew were repatriated safely to their countries of origin.
 
          The aforementioned 7 fishing vessels were deemed stateless and came under the provision of the Royal Ordinance on Fisheries, B.E. 2558 which stipulated penalties for stateless vessels and vessels that counterfeit, conceal or falsify their unique vessel identifiers or their fishing vessel registrations by giving the power to the Director-General of the Department of Fisheries to seize the said vessels and prosecuted the owners according to the law.
 
          At present, Thailand has strictly carried out her obligations under Port State Measures Agreement by examining data on fishing vessels and foreign transshipment vessels intending to land their catches at the designated ports in Thailand even before they enter Thai waters. Thailand has also implemented 
an effective traceability system with the full cooperation of the flag states, coastal states and port states to ensure that all aquatic animals landed in Thailand do not come from IUU fishing.
 
          As for the case of 7 stateless vessels, even though no catch was found on board and no landing request was made, it has paved the way for the revised Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2560 which stipulated that all foreign fishing vessels, with or without catches onboard, are required to notify the competent authorities in advance before entering Thai waters within a set period according to the Department of Fisheries’ Notification. This has helped close the legal loophole to prevent illegal foreign fishing vessels entering the territory of the Kingdom.
 
 
ไทยดำเนินคดีกับเรือไร้สัญชาติจำนวน ๗ ลำ
 
          ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พนักงานอัยการได้สั่งฟ้องดำเนินคดีกับเรือไร้สัญชาติจำนวน ๗  ลำ ใน ๓ คดี ได้แก่ (๑) ความผิดเกี่ยวกับการนำเอกสารปลอมมาแจ้งการรายงานเข้า-ออกท่าเรือ และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน (๒) ความผิดด้านแรงงาน โดยนำลูกเรือมาทำงานบนเรือในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และ (๓) ความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยได้มีการสอบสวนพยานซึ่งเป็นลูกเรือชาวอินโดนีเซีย ๙ คน และฟิลิปปินส์ ๖ คน รวม ๑๕ คน พบว่าถูกแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานบนเรือ และได้ขยายผลไปสู่การจับกุมดำเนินคดีนายหน้าผู้จัดหาลูกเรือในข้อหาค้ามนุษย์
 
          เรือทั้ง ๗ ลำ ได้แก่ เรือ ABUNDANT 1  เรือ ABUNDANT 3  เรือ ABUNDANT 6 เรือ ABUNDANT 9  เรือ ABUNDANT 12  เรือ YUTUNA No. 13 และเรือ SHUN LAI ทั้งหมดเป็นเรือประมงเบ็ดราวทูน่า ได้เข้าเทียบท่าเรือที่ จ.ภูเก็ต โดยอ้างว่ามาจอดเพื่อซ่อมตัวเรือ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเรือเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ซึ่งพบความผิดปกติเกี่ยวกับทะเบียนเรือที่ระบุเป็นเรือสัญชาติโบลิเวีย สำนักงานเจ้าท่า จ.ภูเก็ต จึงได้ตรวจสอบไปยังประเทศโบลิเวีย ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้รับการยืนยันจากทางการโบลิเวียว่าเรือประมงกลุ่มดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนสัญชาติโบลิเวีย หรือมีใบอนุญาตทำประมงโบลิเวีย เจ้าหน้าที่จึงได้รวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับตัวแทนเจ้าของเรือจำนวน ๓ ราย
 
          เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกหมายจับกัปตันเรือ และยึดเรือประมงทั้ง ๗ ลำเป็นของกลางในคดีอาญา เจ้าหน้าที่กรมประมงได้เข้าตรวจสอบสมุดบันทึกประจำเรือ และอุปกรณ์ติดตามเรือบนเรือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำแต่ไม่พบปลาบนเรือทั้ง ๗ ลำ ในขณะที่ ศปมผ. ได้ให้ความช่วยเหลือลูกเรือตามหลักมนุษยธรรม โดยหลังจากสอบปากคำลูกเรือประกอบการดำเนินคดี ก็ได้ส่งลูกเรือทั้งหมดกลับประเทศต้นทางไปเรียบร้อยแล้ว
 
          เรือประมงทั้ง ๗ ลำ มีสถานะเป็นเรือประมงไร้สัญชาติ ซึ่ง พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีบทบัญญัติรองรับฐานความผิดของเรือไร้สัญชาติ และเรือที่ปลอมแปลง ปิดบัง หรือเปลี่ยนเครื่องหมายประจำเรือประมงหรือทะเบียนเรือประมง โดยให้อำนาจอธิบดีกรมประมงสั่งกักเรือประมงที่กระทำผิด ในกรณีที่มิใช่เรือประมงไทย และจะถูกจับและดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเข้มงวด
 
          ปัจจุบันไทยได้มีการดำเนินการตามมาตรการของรัฐเจ้าของท่าเรือที่ไทยเป็นภาคีอย่างเคร่งครัด โดยจะมีการตรวจสอบเรือประมงและเรือขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำต่างชาติที่จะนำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าที่ประเทศไทย ตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร พร้อมกับการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสัตว์น้ำที่นำเข้า ร่วมกับรัฐเจ้าของธง รัฐชายฝั่ง รัฐเจ้าของท่า เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าที่ประเทศไทยไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย
 
          กรณีเรือประมงไร้สัญชาติทั้ง ๗ ลำข้างต้น แม้ไม่พบปลาบนเรือและไม่ได้นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่า แต่ก็ได้นำไปสู่การปรับแก้ไข พ.ร.ก. การประมง ฉบับแก้ไข พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งกำหนดไว้ว่า เรือประมงต่างชาติไม่ว่าจะมีสัตว์น้ำหรือไม่มีสัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อขอเข้าท่าตามระยะเวลาที่ประกาศกรมประมงกำหนด ซึ่งเป็นการปิดช่องโหว่ของกฎหมายป้องกัน มิให้เรือประมงต่างชาติผิดกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักร