Members of the European Parliament’s Committee on Fisheries Paid a Courtesy call on General Chatchai Sarikulya, Deputy Prime Minister คณะกรรมาธิการด้านการประมงของสภายุโรปเข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี

Members of the European Parliament’s Committee on Fisheries Paid a Courtesy call on General Chatchai Sarikulya, Deputy Prime Minister คณะกรรมาธิการด้านการประมงของสภายุโรปเข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 958 view
On 24 May 2018, Mr. Gabriel Mato and Ms. Clara Eugenia Aguilera Garcia, members of the European Parliament’s Committee on Fisheries (PECH)
from Spain, paid a courtesy call on General Chatchai Sarikulya, Deputy Prime Minister of the Kingdom of Thailand, at the Government House on the occasion of their visit to Thailand to attend the 22nd Session of the Indian Ocean Tuna Commission (IOTC) hosted by the Department of Fisheries in Bangkok from 21-25 May 2018. At the meeting, both sides discussed the latest development of the Thai fishery reform.
The Deputy Prime Minister reiterated Thailand’s commitment to tackle the illegal, unreported and unregulated (IUU) fishing over the past three years
and highlighted substantive progress on many fronts such as the enactment of the Royal Ordinance on Fisheries and its related regulations, the control of the whole fishing fleet size, the development of a traceability system, the strengthening of the monitoring, control and surveillance systems, and the implementation of swift and strict law enforcement, both at the criminal court and the administrative sanction committee levels. This resulted in 4,427 legal cases being prosecuted for breaching the fishing regulations and illegal treatments of labour in the fisheries sector. Over 88% of the cases had reached the verdict, including cases of several overseas fishing vessels which were fined to the total of over 400 million Baht (nearly 11 million Euros).
The Deputy Prime Minister emphatically stated that Thailand will be relentless in its effort to combat IUU fishing to reach the target of being an IUU-
free country as well as to create a sustainable fisheries sector in parallel with its effort to solve the labour issues within the fisheries sector. Thailand is ready to take a leading role in the combat against IUU fishing in the region and has already pushed forward the idea of “ASEAN Common Fisheries Policy.” Thailand will also call for strengthening of ASEAN cooperation to prevent and combat the IUU fishing when it assumes ASEAN chairmanship in 2019 and is willing to work with the EU in order to achieve sustainable fishing in Thailand and the region as a whole.
Mr. Mato and Ms. Garcia commended Thailand’s progress in this matter. Both MEPs had visited the Fisheries Monitoring Centre (FMC) on 23 May
2018 and were briefed on the positive development of the monitoring, control and surveillance system being installed, especially regarding the connection between the vessel monitoring system (VMS) and the electronic reporting and monitoring system on Thai Fleets operating overseas; the traceability system put in place for aquatic animals, both from Thai waters and imported from overseas; and the improved effectiveness of PIPO centres. All of these efforts demonstrate that Thailand is heading in the right direction towards sustainable fishing and can be an important example to other countries in the region facing similar problems.
In addition, both MEPs were pleased to learn about measures being put in place to protect labour in the fisheries sector as well as Thailand’s
intention to ratify the relevant ILO’s Conventions within this year. Both pledged support from the EU to provide continued assistance to Thailand in order to achieve the goal of sustainable fishing.
* * * * *
 
 
คณะกรรมาธิการด้านการประมงของสภายุโรปเข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี
 
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นาย Gabriel Mato และนาง Clara Eugenia Aguilera Garcia สมาชิกคณะกรรมาธิการด้านการประมง (European Parliament's
Committee on Fisheries – PECH) ของสภายุโรปชาวสเปน ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสเดินทาง มาเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ ๒๒ (The 22nd Session of the Indian Ocean Tuna Commission – IOTC) ซึ่งกรมประมงเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าการปฏิรูปภาคประมงของไทย
รองนายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้สมาชิกสภายุโรปทราบถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งดำเนินมากว่า ๓ ปี และมีความคืบหน้าเป็น
อย่างมากในหลายด้าน โดยได้มีการแก้ไขกฎหมาย การประมง การกำหนดขนาดกองเรือที่เหมาะสม การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ การเพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายที่รวดเร็วและเข้มงวด ทั้งในด้านอาญา และด้านปกครอง ส่งผลให้มีการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงและการใช้แรงงานประมงอย่างผิดกฎหมาย ถึง ๔,๔๒๗ คดี ซึ่งในจำนวนนี้ มีคดีที่พิจารณาแล้วเสร็จถึงร้อยละ ๘๘ รวมทั้งมีเรือประมงนอกน่านน้ำหลายลำ ที่ทำผิดกฎหมาย ได้รับการตัดสินลงโทษรวมค่าปรับสูงกว่า ๔๐๐ ล้านบาทด้วย
รองนายกรัฐมนตรีย้ำว่า ไทยจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่จะเป็นประเทศปลอดสัตว์น้ำและสินค้าประมงผิดกฎหมาย (IUU-free
Thailand) และเพื่อการประมงอย่างยั่งยืน โดยจะให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ไทยพร้อมแล้วที่จะมีบทบาทนำในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมายในภูมิภาค โดยไทยได้ริเริ่มผลักดันนโยบายประมงร่วมอาเซียนแล้ว และจะผลักดัน ความร่วมมือเพื่อป้องกันและปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมายอย่างเต็มที่ในช่วงที่ไทยจะเป็นประธานอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ด้วย ซึ่งไทยพร้อมที่จะร่วมทำงานกับสหภาพยุโรปเพื่อการประมงที่ยั่งยืนของไทยและของภูมิภาค
นาย Mato และนาง Aguilera ได้แสดงความชื่นชมพัฒนาการการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU โดยหลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทำการประมง
(Fisheries Monitoring Center – FMC) ที่กรมประมงเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ก็ได้รับทราบถึงความก้าวหน้าของระบบติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังของศูนย์ FMC โดยเฉพาะการทำงานของระบบติดตามเรือประมง (Vessel monitoring system – VMS) ที่มีการเชื่อมโยงกับระบบการรายงานและควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งติดตั้งเพิ่มเติมบนเรือประมงนอกน่านน้ำ การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับทั้งสัตว์น้ำไทยและที่นำเข้าจากต่างประเทศ และการเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์แจ้งการเข้า-ออกเรือประมง ทำให้เห็นว่า ประเทศไทยมีทิศทางการทำงานที่ถูกต้องในการเข้าสู่เป้าหมายของการทำ การประมงอย่างยั่งยืน และความก้าวหน้าของประเทศไทยจะเป็นตัวอย่างที่สำคัญให้กับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคได้
นอกจากนี้ สมาชิกสภายุโรปทั้งสองคนยังยินดีที่ได้รับทราบถึงมาตรการคุ้มครองแรงงานภาคประมงของไทย และการที่ไทยมีแผนที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การ
แรงงานระหว่างเทศที่เกี่ยวข้องในช่วงปีนี้ ซึ่งสหภาพยุโรปพร้อมให้การสนับสนุนไทยในการบรรลุเป้าหมายการประมงอย่างยั่งยืนต่อไป
* * * * *