Thailand’s Response to the Comments of Human Rights Watch on the Protection of Labour in Fisheries Sector

Thailand’s Response to the Comments of Human Rights Watch on the Protection of Labour in Fisheries Sector

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 949 view

With regard to the Human Right Watch (HRW)’s open letter to the Royal Thai Government concerning labour reforms in the Thai fisheries industry, dated 13 April 2018, the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand would like to thank the HRW for closely monitoring the labour situation in Thai fisheries sector and acknowledging the efforts of the Thai Government in providing labour protection measures in various aspects. As a result of the efforts, the overall situation of workers in the fisheries sector of Thailand over the past 3 years has drastically improved. Nevertheless, the Thai Government continues to pay close attention and try its utmost to increase the effectiveness of enforcement of those measures to ensure that workers in the fisheries sector receive full legal rights and protections. The progress on the issues highlighted by the HRW is as follows:

1. On law enforcement: from 2015 to March 2018, Thai authorities have prosecuted 87 cases of human trafficking in the fisheries sector and 503 cases of labour rights violation, accounted for 11 percent of all inspections carried out of fishing vessels and seafood processing establishments. In the events that the labour inspectors found cases of child labour under 18 years old, forced labour, debt bondage or human trafficking for labour exploitation, such cases must be reported to the police immediately. Most recently, Thailand has set up special arrest teams for fishing-related crimes at sea. From the operation during 11 to 22 March 2018, the teams arrested both Thai and non-Thai vessels for violations of the fisheries laws and the labour laws, resulting in 50 cases. All cases were prosecuted in both criminal courts and via administrative sanctions.
2. On labour inspections: the Ministry of Labour of Thailand together with the International Labor Organization (ILO) jointly developed a labour inspection manual for inspection at sea, ports and seafood processing establishments. The manual is used by the labour inspectors in every step of the inspection which resulted in an increase in a number of arrests. In addition, the number of inspectors at the Port-in Port-out (PIPO) Centers will be doubled. Other inspection measures have also been put in place, including, checking of individual identification using retinal scanning method; inspections of employment documents, pay slips, work permits, passports, Non-Thai nationality identification (pink card); as well as conducting interviews with every migrant worker in fishing vessels considered as risk group by using pre-screening forms. The interviews were conducted with interpreters without the presence of the vessels owner, captain or foremen. From 46,269 migrant workers in the fisheries sector interviewed at the PIPO Centers in 22 coastal provinces in 2016, 3,222 workers were found to not have been treated in accordance with the labour protection law and legal actions were taken against
the employers.
In addition, the Ministry of Labour of Thailand together with the ILO have regularly arranged training courses for labour inspectors and officials at the PIPO centers as well as carried out capacity building programmes with the ILO under “Ship to Shore Rights” project for enhancing labour protection among officials and NGOs such as Stella Maris and the Environmental Justice Foundation (EJF) in Thailand.
3. On awareness raising: the Ministry of Labour of Thailand has regularly published and distributed information on workers’ rights protection measures and regulations, including its complaint channels via online media, newspapers, television, magazines, brochures, leaflets, and other documents in the migrant workers’ own languages. The effort allowed migrant workers, especially in the fisheries sector, to have access to information and better understanding about their legal rights according to labour protection law. In the year 2017, this method reached the target group of 12,371,025 workers, an increase of 94 times in comparison to 130,400 workers in 2016.
4. Complaint channels: Thailand has developed efficient labour complaint channels. Hotlines services accessible to migrant workers have been set up and operated by both public sector and NGOs which are available in Myanmar, Cambodian and English languages. Once the complaint is received, it will be sent to labour inspector to verify the establishment in question. To protect the complained employee from retaliation, the labour inspection will be conducted without informing the employer of the complainer or employee details. In cases of complaints from labour in fishing vessels, the complaints will be sent to the PIPOs centers and the special arrest teams for fishing-related crimes at sea for in-depth investigation without giving details on the ones who lodged the complaint.
5. Ratification of relevant ILO Conventions: Thailand aims to improve its labour protection standard to be in line with the international standards. Currently, Thailand is drafting the Prevention and Suppression of Forced Labour Act B.E. ... and the Work in Fishing Act B.E. ... with the aim to ratify the Protocol to the Forced Labour Convention (P29) and the Work in Fishing Convention (C188). The amendment of Labour Relations Act is also underway as a foundation for the ratification of the Right to Organise and Collective Bargaining Convention (C98). All are scheduled to be finished by 2018.
In the drafting process of the aforementioned laws, several rounds of public hearings and meetings with all stakeholders were held. The ILO and relevant NGOs, such as the EJF and HRW, were also invited to provide comments and recommendations on both draft legislations. The Ministry of Labour of Thailand has taken those recommendations and comments into consideration and incorporated them into the drafted laws to ensure that such laws would be in compliance with relevant ILO conventions before proposing to the Cabinet and the National Assembly for further consideration.
The Thai government reiterates its commitment to continue to address the issue of labour in the fisheries sector. The mechanism for the effective protection of the migrant workers’ rights will continue to be improved and fine-tuned. The Thai Government stands ready to welcome suggestions and comments from all parties so that the Thai fishery industry can attain sustainability and be in accordance with the human rights principles.
 
 
ข้อชี้แจงต่อจดหมายเปิดผนึกของ Human Rights Watch กรณีการคุ้มครองแรงงานในภาคประมง
 
ตามที่องค์กร Human Rights Watch (HRW) ได้มีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๑ เรื่องการปฏิรูปแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมงของไทย กระทรวงการต่างประเทศขอขอบคุณ HRW ที่ติดตามสถานการณ์แรงงานภาคประมงของไทยอย่างใกล้ชิด และยอมรับถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการออกมาตรการคุ้มครองสิทธิแรงงานในหลายด้าน ส่งผลให้ภาพรวมสถานการณ์แรงงานประมงของไทยในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมาปรับตัว ดีขึ้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลมิได้นิ่งนอนใจ และยังคงพยายามปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อให้แรงงานภาคประมงได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มที่ โดยมีความคืบหน้าในประเด็นที่ HRW ให้ความสำคัญ ดังนี้
๑. การบังคับใช้กฎหมาย ในช่วงตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ - มีนาคม ๒๕๖๑ ประเทศไทยได้ดำเนินคดีความผิดฐาน ค้ามนุษย์ภาคประมง จำนวน ๘๗ คดี และคดีการละเมิดสิทธิแรงงาน จำนวนทั้งสิ้น ๕๐๓ คดี หรือร้อยละ ๑๑ ของจำนวนเรือและสถานประกอบการที่ได้รับการตรวจทั้งหมด ทั้งนี้ หากพนักงานตรวจแรงงานพบว่ามีการใช้แรงงานเด็กต่ำกว่า ๑๘ ปี หรือมีการใช้แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จะดำเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนในทันที ล่าสุด ไทยได้จัดตั้งทีมตรวจจับพิเศษทางทะเล โดยในการออกปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ ทีมตรวจจับพิเศษสามารถจับกุมเรือไทยและเรือต่างชาติที่กระทำ ผิดกฎหมายประมงและกฎหมายแรงงานได้ถึง ๕๐ คดี ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางปกครอง
๒. การตรวจแรงงาน กระทรวงแรงงานร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ร่วมกันพัฒนาคู่มือการตรวจแรงงานทั้งที่ท่าเรือ กลางทะเล และโรงงานแปรรูป ซึ่งพนักงานตรวจแรงงานได้ใช้คู่มือในการตรวจสอบทุกขั้นตอน ส่งผลให้มีสถิติการจับกุมข้างต้นเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแผนเพิ่มจำนวนผู้ตรวจที่ศูนย์ PIPO ให้ถึง เกือบหนึ่งเท่า พร้อมการตรวจสอบอัตลักษณ์บุคคลด้วยวิธีการสแกนม่านตา ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการจ้างงาน การจ่ายค่าจ้าง ใบอนุญาตทำงาน หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) ตลอดจน มีการสัมภาษณ์แรงงานประมงกลุ่มเสี่ยงทุกคนด้วยแบบคัดกรองเบื้องต้น โดยจะสัมภาษณ์ร่วมกับล่าม และ แยกแรงงานออกจากเจ้าของเรือ ไต้ก๋ง หรือหัวหน้าคนงาน ซึ่งจากการสัมภาษณ์แรงงานต่างด้าวในภาคประมง ที่ศูนย์ PIPO ใน ๒๒ จังหวัดชายทะเลช่วงปี ๒๕๖๐ จำนวน ๔๖,๒๖๙ คน พบแรงงานได้รับการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานจำนวน ๓,๒๒๒ คน ซึ่งได้ดำเนินการทางกฎหมายต่อนายจ้างแล้ว
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังร่วมกับองค์การ ILO จัดอบรมการตรวจแรงงานภาคประมงและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ศูนย์ PIPO อย่างสม่ำเสมอ และยังมีโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองแรงงานในการทำงานเป็นทีมร่วมกับองค์การ ILO ภายใต้โครงการ Ship to Shore Right และองค์กร NGOs ซึ่งรวมถึง ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล และมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF) ประจำประเทศไทยด้วย
๓. การสร้างความตระหนักรู้ กระทรวงแรงงานได้เผยแพร่ข้อมูลกฎระเบียบและมาตรการคุ้มครองสิทธิ ของแรงงาน รวมถึงช่องทางร้องเรียน เพื่อให้แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะในภาคประมง มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ สื่อออนไลน์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สปอตโฆษณา แผ่นพับ และเอกสารอื่น ๆ ในภาษาของแรงงานต่างด้าว โดยในปี ๒๕๖๐ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ประมาณ ๑๒,๓๗๑,๐๒๕ คน เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๙ ซึ่งมีประมาณ ๑๓๐,๔๐๐ คน เพิ่มขึ้นมากถึง ๙๔ เท่า
๔. กลไกร้องเรียน ไทยได้พัฒนาช่องทางการร้องเรียนด้านแรงงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแรงงาน ต่างด้าวสามารถเข้าถึงได้ทั้งช่องทางของภาครัฐและ NGOs โดยมีบริการสายด่วนต่าง ๆ ซึ่งให้บริการเป็นภาษา เมียนมา กัมพูชา และอังกฤษ ซึ่งเมื่อได้รับการร้องเรียนของลูกจ้างผ่านสายด่วนต่าง ๆ กระทรวงแรงงานจะจัดส่ง ข้อร้องเรียนให้ผู้ตรวจแรงงานดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ สถานประกอบกิจการที่ถูกร้องเรียน โดยไม่แจ้งข้อมูลของลูกจ้างให้นายจ้างทราบ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้นายจ้างกระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิด หรือลิดรอนสิทธิของลูกจ้าง ในกรณีที่เป็นการร้องเรียนของแรงงานประมง จะมีการส่งข้อร้องเรียนไปยังศูนย์ PIPO และ ทีมตรวจจับพิเศษทางทะเลเพื่อตรวจสอบข้อมูลในเชิงลึก โดยเจ้าของเรือจะไม่มีทางทราบได้ว่าลูกเรือคนใด เป็นผู้ร้องเรียน
๕. การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ที่เกี่ยวข้อง ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะยกระดับการคุ้มครองแรงงาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านแรงงานระหว่างประเทศ โดยอยู่ระหว่างการร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและขจัดแรงงานบังคับ พ.ศ. .... เพื่อรองรับการให้สัตยาบันพิธีสารภายใต้อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยแรงงานบังคับ และร่าง พ.ร.บ. แรงงานประมงทะเล พ.ศ. .... เพื่อรองรับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๘๘ ว่าด้วยการทำงานในภาคประมงทะเล และอยู่ระหว่างการปรับปรุง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... เพื่อรองรับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๑
ทั้งนี้ ในกระบวนการจัดทำร่างกฎหมายข้างต้น ได้มีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกฝ่ายหลายรอบ รวมถึงได้มีการเชิญองค์การ ILO และ NGOs อาทิ EJF และ HRW เข้ามาร่วมให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำในการยกร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ ซึ่งกระทรวงแรงงานก็ได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสอดคล้องกับอนุสัญญา ILO ที่เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
รัฐบาลไทยขอย้ำว่า การแก้ไขปัญหาแรงงานภาคประมงจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะปรับปรุงกลไกแก้ไขปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว และพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อให้อุตสาหกรรมประมงของไทยมีความยั่งยืนและสอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน