Thailand’s Progress on Traceability Systems for Fish and Fishery Products ความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำของไทย

Thailand’s Progress on Traceability Systems for Fish and Fishery Products ความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำของไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,784 view

 

Thailand, as one of the world’s largest producers and exporters of processed aquatic animal products, is determined to develop a credible traceability system for aquatic animals, which are brought to Thai ports or processed in Thailand, to ensure that no aquatic animals derived from the illegal, unreported and unregulated (IUU) fishing will enter into the entire productions and processing lines in Thailand.
At present, Thailand is in the process of developing the Thai-flagged Catch Certification System for tracing catches aboard Thai vessels, and also the Port State Measures (PSM) linked and Processing Statement System (PPS) for catches on non-Thai vessels. The key concept is to create databases for systematically tracking the origin of aquatic animals, as well as to set up the automatic alerting for anomalous inputs being found at any stage, from landing of catch to processing. This is to make sure that the catch has not been engaged in IUU fishing.
Regarding the traceability system for catches on Thai vessels, the process starts from checking the origin of the catch, cross checking species and weight of the catch as recorded in the logbook against the actual ones recorded during landing, and issuing the Marine Catch Purchasing Document (MCPD). At the processing plant, the quantity of the catch taken out from the lot to be processed or to be exported will be automatically deducted against the original quantity to prevent any inclusion of unchecked aquatic animals into the system. At the last stage, the Catch Certificate to certify IUU-free products will be issued for exportation to a third country.
For catches from non-Thai vessels, since Thailand is a party to the Port State Measures Agreement, all non-Thai vessels wishing to land their catch at a Thai port must undergo the inspection of documents required for the advance request for port entry, including the Catch Certificate from the flag state, the vessel inspection, and the cross checking of species and weight of the catch measured at port against those measured at processing plant. Then the system will keep track of the quantity used for processing or exporting from the total quantity to prevent unchecked catch from entering the system. Lastly, for exportation to a third country, the Processing Statement will be issued to certify IUU-free products.
Thailand will continue to improve the effectiveness of the IT system for traceability, including the development of an automatic alert function and the development of the mobile application to link databases of transhipment from the vessel to the port until reaching the plant, to reduce the official’s burden in examining documents. Additionally, measures to control the deliveries of aquatic animals via cargo containers, trucks, and by air will be formulated with a view to closing opportunities for smuggling of illegal catch into the production line.
The development of the traceability systems, which are now fully functional, demonstrates the remarkable progress of Thailand’s fisheries reform. This will be continued as Thailand is moving towards becoming an IUU-free country, and an exemplary model for the region on how to tackle the IUU fishing.
 
ความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำของไทย
 
ไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่ทำการประมงและเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสัตว์น้ำแปรรูปขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้มุ่งมั่นพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับของสัตว์น้ำที่มาเทียบท่าหรือแปรรูป เพื่อให้มั่นใจว่าตลอดสายการผลิตและแปรรูปอาหารทะเลของไทยจะปราศจากสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)
ปัจจุบันไทยได้พัฒนาระบบ Thai Flagged Catch Certification System เพื่อตรวจสอบสัตว์น้ำ ที่มาจากเรือไทย และระบบ PPS (PSM linked and Processing Statement System) เพื่อตรวจสอบสัตว์น้ำ จากเรือต่างชาติ โดยหลักการทำงานที่สำคัญของระบบดังกล่าว คือ การจัดทำระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของสัตว์น้ำอย่างละเอียดทุกขั้นตอน รวมถึงมีระบบอัตโนมัติที่ช่วยแจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติของข้อมูลในแต่ละขั้นตอน นับตั้งแต่การนำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าจนถึงกระบวนการแปรรูป เพื่อให้มั่นใจว่า สัตว์น้ำดังกล่าว มิได้มาจากการทำประมง IUU
สำหรับการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำจากเรือไทยนั้น ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจที่มาของการทำประมง การตรวจสอบชนิดและน้ำหนักสัตว์น้ำในสมุดบันทึกทำการประมงเทียบกับชนิดและน้ำหนักสัตว์น้ำที่ขึ้นท่า และการจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำ การตรวจสอบน้ำหนักสัตว์น้ำที่ใช้ในการแปรรูปหรือส่งออก โดยระบบจะตัดจากยอดน้ำหนักคงเหลือเพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบนำสัตว์น้ำที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบ เข้ามาในระบบ และการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (Catch Certificate) ว่ามิได้เกี่ยวข้องกับการทำประมง IUU สำหรับส่งออกไปยังประเทศที่สาม
ในส่วนของสัตว์น้ำจากเรือต่างชาตินั้น โดยที่ไทยมีความรับผิดชอบตามความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าของท่า เรือต่างชาติทั้งหมดที่จะนำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าที่ไทยต้องผ่านการตรวจสอบเอกสารประกอบคำร้อง ขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า ซึ่งรวมถึงใบรับรองการจับสัตว์น้ำจากรัฐเจ้าของธง การตรวจสอบเรือ ตรวจสอบชนิดและปริมาณสัตว์น้ำที่ขนถ่าย ณ ท่าเทียบเรือ เปรียบเทียบกับชนิดและปริมาณสัตว์น้ำที่โรงงาน แปรรูปรับเข้าผลิต ตรวจสอบน้ำหนักสัตว์น้ำที่ใช้ในการแปรรูปหรือส่งออก โดยระบบจะตัดจากยอดน้ำหนักคงเหลือเพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบนำสัตว์น้ำที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบเข้ามาในระบบ และการออกใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ (Processing Statement) ว่ามิได้เกี่ยวข้องกับการทำประมง IUU สำหรับส่งออกไปยังประเทศที่สาม
นอกจากนี้ ไทยยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการตรวจสอบย้อนกลับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ และการจัดทำ mobile application สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลการขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือไปยังหน้าท่าและไปสู่โรงงาน เพื่อลดภาระของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสาร รวมถึงการพัฒนามาตรการควบคุมการนำเข้าสัตว์น้ำทางตู้คอนเทนเนอร์ รถบรรทุก และทางอากาศ เพื่อลดโอกาสในการลักลอบนำสัตว์น้ำผิดกฎหมายเข้ามาสู่สายการผลิตในไทยอีกด้วย
การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของการปฏิรูปภาคประมง ของไทย ซึ่งขณะนี้ระบบได้ดำเนินการเต็มรูปแบบแล้ว และจะมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่จะเป็นประเทศปลอดจากสัตว์น้ำและสินค้าประมงที่มาจากการทำประมง IUU และเป็นแบบอย่างที่ดีของการป้องกันปัญหาประมง IUU ในภูมิภาคต่อไป