สหภาพยุโรปมีแผนจะออกกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมในปี 2564

สหภาพยุโรปมีแผนจะออกกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมในปี 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 พ.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 850 view

สหภาพยุโรปมีแผนจะออกกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมในปี 2564

          สื่อมวลชนสหภาพยุโรปได้รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนาย Didier Reynders กรรมาธิการยุโรปด้านกิจการยุติธรรมว่า สหภาพยุโรปมีแผนจะออกกฎหมายเพิ่มเติมในด้านสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในปี 2564 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

          การออกกฎหมายเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการยุโรปในปี 2564 และแผนงาน European Green Deal โดยจะมีการจัดการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมก่อนที่จะเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำลาย
สิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยกฎหมายเหล่านี้จะระบุให้บริษัทต่าง ๆ (ซึ่งรวมถึงบริษัททั่วโลกที่ทำธุรกิจกับสหภาพยุโรป) ต้องทำการตรวจสอบการดำเนินกิจการและความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม และทำการรายงานผล รวมถึงต้องเสนอความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการช่วยแสดงถึงความโปร่งใสของบริษัทต่อผู้ลงทุน ผู้บริโภค และชุมชนในพื้นที่ ถึงความรับผิดชอบและความยั่งยืนของธุรกิจของบริษัทด้วย

          นอกจากนี้ ที่ผ่านมามีการรณรงค์เรียกร้องกฎหมายลักษณะนี้โดยสมาชิกสภายุโรป (Members of the European Parliament – MEPs) และภาคประชาสังคม แต่สหภาพยุโรประบุให้เป็นการดำเนินการโดยสมัครใจของบริษัทมากกว่าการกำหนดเป็นกฎหมาย ทั้งนี้ ผลการสำรวจระบุว่า มีเพียง 1 ใน 3 ของบริษัททั้งหมดในสหภาพยุโรปที่ดำเนินมาตรการตรวจสอบ  ดังกล่าว และที่ผ่านมามีประมาณครึ่งหนึ่งของบริษัทในสหภาพยุโรปที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีราวร้อยละ 70 ที่สนับสนุนให้มีมาตรการบังคับเป็นกฎหมายดังกล่าว

          อย่างไรก็ดี กฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคมระบุว่า เยอรมนีในฐานะประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปที่จะดำรงตำแหน่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 (ตังแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2563) จะให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว
อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ได้มีการยกตัวอย่างถึงกรณีสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้สหภาพยุโรปต้องพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศ เช่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment - PPE) และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลาย ๆ ประเทศ

*******************************