สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ในยุโรป และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ในยุโรป และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 7,047 view

สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ในยุโรป และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

          สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงทวีปยุโรป นับตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2562 เป็นต้นมานั้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทั้งเศรษฐกิจจีน (ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย)ตลอดจนเศรษฐกิจโลกและยูโรโซน โดยไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดความกังวลทางด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยัง ลุกลามต่อเนื่องไปถึงความผันผวนในตลาดการเงินจากความตื่นตระหนกของนักลงทุน และปัญหาด้านการค้า การขนส่งจากความจําเป็นที่หลายประเทศจะต้องปิดเมืองหรือโรงงานผลิตยาวนานขึ้นที่ทําให้เครือข่ายโลจิสติกส์จีนปั่นป่วนจนส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนไปทั่วโลก และทําให้เกิดปัญหาในการติดต่อสื่อสารการเดินทางสัญจร และการกักตุนสินค้าและอาหารตามมาอย่างที่เห็นกันในแทบทุกประเทศ

มาตรการรับมือของสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก

          ที่ผ่านมารัฐบาลหลายประเทศในยุโรปที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมาก เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก และโปแลนด์ ต้องสั่งล็อคดาวน์หรือทําการปิดประเทศชั่วคราว ห้ามเดินทางสัญจรเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยบางประเทศ เช่น เยอรมนี ฮังการี สโลวาเกีย และลิทัวเนีย ได้ทําการปิดพรมแดนบางส่วนกับประเทศในสหภาพยุโรปด้วยกันเอง ซึ่งขัดกับหลักเสรีภาพในการเดินทางอันเป็นหัวใจของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดน โดยเฉพาะสินค้าจําเป็น เช่น อาหาร ของใช้ประจําวัน และยาอุปกรณ์ทางการแพทย์ จนทําให้ในวันที่ 17 มีนาคม 2563 สหภาพยุโรปต้องประกาศมาตรการปิดพรมแดนภายนอกสหภาพยุโรปทั้งหมด ห้ามคนต่างชาติจากประเทศที่สามเดินทางเข้าสหภาพยุโรป เป็นเวลา 30 วัน ยกเว้นกรณีเป็นการเดินทางที่จําเป็นอย่างยิ่งยวด โดยสหภาพยุโรปหวังว่า เมื่อปิดพรมแดนภายนอกแล้ว จะทําให้ประเทศสมาชิกอียยกเลิกการปิดพรมแดนภายในระหว่างกัน ด้วยเหตุที่เศรษฐกิจสหภาพยุโรปเชื่อมโยงกับจีนสูงในหลายมิติ การแพร่ระบาดอย่างหนักในยุโรปทําให้การผลิต และการจ้างงานหยุดชะงักชั่วคราว ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก อาทิ Volkswagen, Daimler (Mercedes), BMW, FIAT และมีการจ้างงานในอุตสาหกรรมถึง 6.1% ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติของห่วงโซ่อุทานจากการที่รัฐบาลจีนปิดเมืองอู่ฮันและการขาดชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตจากจีน รวมทั้งยอดขายก็ลดลงอย่างมากจากมาตรการล็อคดาวน์ โดยมีข่าวว่าบริษัทรถยนต์หลายแห่งได้แสดงความพร้อมที่จะเปลี่ยนมาผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งกําลังเป็นที่ต้องการมากในยุโรปในช่วงนี้ ทั้งนี้ ความท้าทายสําหรับบริษัทจะอยู่ที่การผลิตสินค้าประเภทใหม่ให้ได้มาตรฐาน โดยหน่วยงานภาครัฐก็จะต้องช่วยอํานวยความสะดวกในเรื่องกฎระเบียบและกระบวนการเพื่อให้การปรับเปลี่ยนการผลิตสามารถทําได้โดยเร็วและได้มาตรฐาน และเป็นทางออกหนึ่งในการช่วยประคับประคองอุตสาหกรรมรถยนต์ของยุโรปในช่วงวิกฤตนี้

          คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า วิกฤติโรคระบาดอาจทําให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปใน ปี 2563 ติดลบที่ 1.1% (จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 1.4%) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าความพยายามจํากัดการแพร่กระจายและควบคุมไวรัสใช้ระยะเวลาเท่าใด

          ทั้งนี้ ภาคท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรปเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากวิกฤติ COVID-19 ตั้งแต่ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ตลอดจนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีกและการขนส่ง โดยเฉพาะกิจการสายการบินในยุโรปที่ในปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการลดหรือหยุดบินชั่วคราว จากผู้โดยสารที่ลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา จนสหภาพยุโรปต้องตัดสินใจระงับข้อบังคับที่เรียกว่า “use-it or-lose-it" เป็นการชั่วคราวซึ่งกําหนดให้สายการบินต้องบินอย่างน้อย 80% ของเที่ยวบินที่กําหนดไว้ มิฉะนั้น อาจถูกรับสิทธิ์การบินให้กับสายการบินอื่นที่ต้องการ เพื่อช่วยเหลือไม่ให้สายการบินในยุโรปต้องนําเครื่องบินเปล่าขึ้นบิน (สถานการณ์ "Ghost flight) ทั้งนี้ ยุโรปมีการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวถึง 3.9% ของ GDP และมีการจ้างงานในอุตสาหกรรมถึง 6.1% หรือราว 11.9 ล้านคน

          สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (The International Air Transport Association: IATA) ได้คาดการณ์ไว้ ณ วันที่ 5 มีนาคม 2563 ว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกอาจสูญเสียรายได้ถึง 113 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือเท่ากับ 103 พันล้านยูโร) จากภาวะการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งผลกระทบต่อสายการบินจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเงินทุนสํารองในการรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

          เพื่อรับมือวิกฤติในครั้งนี้ ผู้นําสหภาพยุโรปประกาศว่าจะดําเนินการทุกอย่างที่จําเป็นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและดูแล ผลกระทบจาก COVID-19 ตั้งแต่การใช้มาตรการทางการคลัง ไปจนถึงการสนับสนุนการพัฒนาวัคซีน การ บริหารจัดการชายแดนเพื่อเชื่อมโยงและจัดหาและขนส่งอุปกรณ์การแพทย์ การช่วยเหลือคนสหภาพยุโรปในต่างประเทศ ให้ได้กลับบ้าน การแก้ไขปัญหารถขนส่งสินค้าติดพรมแดน เนื่องจากประเทศสมาชิกหลายประเทศทําการปิด พรมแดนภายในประเทศของตนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

          โดยในช่วงที่ผ่านมามีการออกมาตรการทางการคลัง มูลค่าประมาณ 2% ของ GDP และอัดฉีดสภาพคล่อง อย่างน้อย 13% ของ GDP เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ผ่านการให้เงินกู้ยืม และชะลอการเก็บภาษี เป็นต้น มาตรการ เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวครอบคลุมถึงการช่วยเหลือ SMEs ผ่าน European Investment Fund เป็นเงิน 1 พันล้านยูโร เพื่อให้ธนาคารสามารถสนับสนุนการรักษาสภาพคล่อง มาตรการรองรับวิกฤติ COVID-19 (Corona Response Initiative) เป็นเงิน 37 พันล้านยูโร เงินจากกองทุน Structural Funds จํานวนอีก 28 พันล้านยูโร เงินจากกองทุน EU Solidarity Fund จํานวน 800 ล้านยูโร เพื่อให้ครอบคลุมถึงวิกฤติด้านสาธารณสุข และเงินกองทุน European Globalisation Adjustment Fund เพื่อช่วยเหลือคนตกงาน จํานวน 179 ล้านยูโร เพื่อชะลอการชําระหนี้ให้กับบริษัท และผ่อนปรนเพื่อให้รัฐบาลช่วยเหลือธนาคารให้เข้าถึงเครดิต ทั้งนี้ เพื่อรักษาเอกภาพของ Single Market ในด้านการผลิต ด้านอุปทาน และห่วงโซ่อุปทานเพื่อป้องกันระบบสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานอย่างเป็นระบบ

          นอกจากนั้น ธนาคารกลางยุโรปยังประกาศอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจํานวน 7.5 แสนล้านยูโรภายใต้ โครงการ "Pandaric Emergency Purchase Programme" เพื่อเข้าซื้อหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ (public and private securities) ด้วยกฎระเบียบที่ยืดหยุ่น

โอกาสและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

1) แนวโน้มการส่งออกของไทยไปสหภาพยุโรปจะปรับลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทําให้เศรษฐกิจของหลายประเทศในยุโรปหดตัวลง โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทยในภาพรวม ได้แก่ ปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ขาดแรงงาน กฎระเบียบที่มีการเปลี่ยนแปลง มาตรการล็อคดาวน์ที่ทําให้ ความต้องการและกําลังซื้อของผู้บริโภคลดลง โดยเน้นการซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จําเป็น และลดการซื้อของฟุ่มเฟือย ธุรกิจบางส่วนมีแผนปรับลดพนักงาน รายได้และผลกําไรโดยรวมในปีนี้ลดลง นักธุรกิจหลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศ การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าในประเทศไทย อาทิ งานแสดงสินค้าระดับ นานาชาติ และการจับคู่ธุรกิจในไทย เป็นต้น

ภาคอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปสหภาพยุโรปสูงและต้องจับตาผลกระทบ ได้แก่ สินค้าเกษตรและประมง สินค้าในหมวดคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยางล้อและที่นอน เป็นต้น

2) อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่ในบ้านและกักตุนอาหาร อาจทําให้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารบางประเภทได้มากขึ้นในระยะสั้น เช่น ข้าว ปลากระป๋อง อาหารปรุงสําเร็จ สิ่งปรุงรส อาหาร ผักผลไม้ มันสําปะหลัง ยางพารา ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป เครื่องดื่ม และอาหารสัตว์เลี้ยง รวมถึงสินค้าเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางทางการแพทย์ ที่คาดว่าจะเป็นที่ต้องการอย่างมากในยุโรปในช่วงถัดไป รวมถึงโอกาสในระยะยาว ที่สหภาพยุโรปอาจหันไปนําเข้าสินค้าจากแหล่งอื่นนอกจากจีน และอินเดีย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงทางด้านซัพพลายเชน

3) นอกจากนั้น ธุรกิจภาคบริการของไทยในยุโรป เช่น ร้านอาหาร สปา ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มีรายได้ลดไปมากจากสถานการณ์ COVID-19 และมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงสายการบินไทยที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากข้อจํากัดการเดินทางหลายประการและการห้ามการเดินทาง อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในยุโรป

4) ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป ถือว่าเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสําคัญที่เดินทางมายังประเทศไทย คาดว่าผลของ COVID-19 ทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปลดลง โดยในปี 2561 ไทยมีนักท่องเที่ยวจากยุโรปประมาณ 6.7 ล้านคน

5) สถานการณ์เช่นนี้คงส่งผลให้การเจรจาการค้าของสหภาพยุโรปกับประเทศต่าง ๆ รวมถึงการเจรจาความสัมพันธ์ ในอนาคตสหภาพยุโรป-อังกฤษ ต้องชะลอออกไปก่อนอย่างเลี่ยงไม่ได้

6) สําหรับแนวโน้มในระยะข้างหน้า คาดว่าการพัฒนาด้านสาธารณสุขและการยกระดับความร่วมมือทางการแพทย์ทั่วโลกจะมีความสําคัญมากขึ้น ตลอดจนการวางมาตรฐานสุขภาพระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนในการจัดการวิกฤติ เพื่อลดผลกระทบจากภัยคุกคามนี้ รวมถึงความเป็นไปได้ที่สหภาพยุโรปจะมีข้อจํากัดด้านสุขภาพและการตรวจสอบความปลอดภัยต่อการนําเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากเกรงผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและความเป็นอยู่ของมนุษย์

7) นอกจากนั้น เหตุการณ์นี้ยังทําให้เกิดการเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด อันเป็นผลพวงจากการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทําให้ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทํางานจากออฟฟิศมาเป็นการทํางานทางไกล (Telework หรือ Work from Home) เพิ่มการใช้ซอฟแวร์และแอพพลิเคชั่นในการทํางาน รวมทั้งการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดมาเป็นระบบ e-payment ที่ทันสมัย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ธุรกิจซอฟแวร์และไอทีน่าจะเป็นสาขาที่มีอนาคตที่สดใสภายหลังวิกฤต COVID-19 นี้

******************************

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649906