Thailand will host the SeaWeb Seafood Summit 2019 - ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SeaWeb Seafood Summit ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒

Thailand will host the SeaWeb Seafood Summit 2019 - ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SeaWeb Seafood Summit ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,415 view

 

            Thailand in partnership with SeaWeb will host the SeaWeb Seafood Summit 2019 during 11 - 13 June 2019 in Bangkok. The Summit will be a platform for sharing experiences in the sustainable seafood industry among relevant agencies including representatives from the public sector, private sector, academia, civil society, and media from around the world to promote best practices for sustainable fishery.

         Thailand has exerted strenuous and continuous efforts to reform the fisheries sector since 2015, with emphasis placed on comprehensively eliminating illegal, unreported and unregulated (IUU) fishing. This has resulted in the concrete progress that could serve as a good model for sustainable fisheries for the region. Thus, Thailand is ready to share the lessons it has learned with other interested countries and organisations.

             At the SeaWeb Seafood Summit 2018 held during 18 - 21 June 2018 in Barcelona, Spain, Thailand was represented by a delegation led by Mr. Adisorn Promthep, Director-General of the Department of Fisheries, who also took part in the seminar arranged by the Environmental Justice Foundation (EJF), under the title “Environmental and Ethical Sustainability through Transparency, Traceability and Accountability” on 20 June 2018. On that occasion, Thailand presented its fisheries reformation success stories, particularly the development of the traceability system to control catches and trace fisheries products throughout the entire production chain, as well as the enforcement of strict labour inspections conducted at port, at sea, and at processing plants. At the seminar, Mr. Steve Trent, Executive Director of EJF, also expressed his admiration for Thailand’s progress in the fight against the IUU fishing.

          Moreover, the Summit also hosted the presentation of Seafood Champion awards recognising individuals and agencies for their outstanding performances in promoting environmentally responsible seafood industry. This year, Ms. Patima Tungpuchayakul, co-founder of the Labour Rights Promotion Network (LPN) was awarded the Seafood Champion in the area of Advocacy for her dedication to protecting the rights of Thai and migrant workers in the fishing industry. Her work is an example of the active role of the civil society which contributes to the crucial partnership with the Royal Thai Government in fulfilling our national agenda to eliminate human trafficking and forced labour. Moreover, Thailand is the first country in Asia that has deposited the instrument of ratification for the Protocol of 2014 to the Forced Labour Convention 1930 on 4 June 2018. The domestic legislation to be in line with the Protocol is currently in the process of finalisation.

 

            ไทยร่วมกับองค์กร SeaWeb จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SeaWeb Seafood Summit ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านธุรกิจอาหารทะเลที่ยั่งยืนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนจากทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่มุ่งไปสู่การทำประมงที่ยั่งยืน

            ไทยได้ปฏิรูปภาคประมงอย่างจริงจังและต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเฉพาะการขจัดปัญหาการทำ ประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) อย่างเป็นระบบ จนมีความก้าวหน้าที่จะเป็นแบบอย่าง ที่ดีของการทำประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค และพร้อมที่จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหาของไทย ให้กับประเทศและองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจ

             เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไทยได้ส่งคณะผู้แทนนำโดยนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เข้าร่วมการประชุม SeaWeb Seafood Summit ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ ที่นครบาร์เซโลนา สเปน และเข้าร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ “Environmental and Ethical Sustainability through Transparency, Traceability and Accountability” ซึ่งจัดโดยมูลนิธิ Environmental Justice Foundation (EJF) เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ โดยไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าการปฏิรูปภาคประมงของไทย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบ การตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำและสินค้าประมงตลอดห่วงโซ่การผลิต รวมทั้งการตรวจสอบด้านแรงงานอย่างเข้มงวด นับตั้งแต่ท่าเรือ ในทะเล จนถึงโรงงานแปรรูป ซึ่งนาย Steve Trent ผู้อำนวยการมูลนิธิ EJF ได้กล่าวชื่นชมความก้าวหน้าของไทยในการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ในเวทีดังกล่าวด้วย

          นอกจากนี้ ในงานดังกล่าว ยังมีการมอบรางวัล Seafood Champion เพื่อเชิดชูบุคคลหรือหน่วยงานที่มีผลงานโดดเด่นในการส่งเสริมธุรกิจอาหารทะเลที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งในปีนี้ นางปฏิมา ตั้งปรัชญากูล ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ได้รับมอบรางวัล Seafood Champion สาขาการให้ความช่วยเหลือ (Advocacy) สำหรับการอุทิศตนเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานประมงไทยและต่างด้าวด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่แข็งขันของภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่สำคัญของทางการไทยในการขจัดแรงงาน ค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทย ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ให้สัตยาบันสารพิธีสาร ค.ศ. ๒๐๑๔ ของอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. ๑๙๓๐ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ และกำลังออกกฎหมายภายในที่สอดคล้องกับพิธีสาร เพื่อประสิทธิภาพของการบังคับใช้ต่อไป

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ