วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.ค. 2561
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
Thailand Enforces Strict Labour Inspection in the Fishery Sector
Thailand has approved the new Regulation of the Department of Labour Protection and Welfare on Labour Inspection and Criminal Proceedings according to the Ministerial Regulation on Labour Protection in Sea Fishing Work, B.E. 2561 (2018), in order to enable the labour inspections and criminal proceedings in sea fishing to be conducted more swiftly and effectively. The Regulation entered into force since 26 June 2018.
The labour inspectors in 22 coastal provinces are now obliged to inspect the employment of labourers in the sea fishing industry, which includes inspecting employment conditions through workers’ interviews, and examining documents pertaining to the employment contract, wage payment, workers’ registry, and the record for the provision of leisure times, as stipulated in the abovementioned Ministerial Regulation. The inspections are to be carried out at the Port-in Port-out (PIPO) Control Centres, at ports and fish markets, on the fishing vessels while at sea, or at seafood processing plants.
If an employer fails to comply with the said Ministerial Regulation, the labour inspectors will issue an order to the employer commanding the malpractice to be rectified within a set timeframe, and/or to report to the competent officials to proceed with administrative sanctions and criminal proceedings, subject to the severity of the wrongdoings.
Furthermore, the competent officials will begin criminal proceedings immediately for any offences involving human trafficking or child labour, offences that impact the vast majority of workers, and repeated offences.
In this regard, any vessel convicted of labour malpractices will be categorised in the risk group, ranked by severity of the offence. The vessels in the risk group will be subjected to more frequent random inspections, during Port-in and Port-out and while at sea, than ordinary vessels.
This newly issued Regulation will be used as a guideline for the labour inspectors to improve accuracy and uniformity of practices. It will also enhance the effectiveness of labour protection within the fishery sector, and enable more speedy prosecution of any offences, thus laying a firm foundation for Thailand’s readiness prior to the ratification of the International Labour Organization (ILO)’s Work in Fishing Convention (C188) which is scheduled for completion in 2018.
ไทยบังคับใช้ระเบียบตรวจเข้มแรงงานในภาคประมง
ประเทศไทยได้ประกาศใช้ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการตรวจแรงงาน และการดำเนินคดีอาญาผู้กระทำความผิดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อให้การตรวจแรงงานและการดำเนินคดีในงานประมงทะเลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๑
พนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ ๒๒ จังหวัดชายทะเล จะดำเนินการตรวจแรงงานประมงทะเล ซึ่งรวมถึง การตรวจสอบสภาพการจ้างงานจากการสัมภาษณ์แรงงาน การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับสัญญาจ้าง การจ่ายค่าจ้าง ทะเบียนลูกจ้าง และหลักฐานเวลาพัก เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในงานประมงทะเล โดยจะดำเนินการตรวจสอบ ทั้งที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (PIPO) ท่าเรือ และแพปลา เรือประมงระหว่างทำการประมงในทะเล หรือที่สถานประกอบกิจการแปรรูปอาหารทะเล
หากพบนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว ให้พนักงานดำเนินการออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด และ/หรือแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินคดีตามมาตรการปกครองและอาญา แล้วแต่ความหนักเบาแห่งข้อหาที่พบการกระทำความผิด
นอกจากนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินคดีอาญาทันทีในความผิดฐานค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก ความผิดที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานจำนวนมาก และความผิดที่กระทำซ้ำครั้งที่สอง หลังจาก ที่เคยถูกออกคำสั่งมาแล้ว
ทั้งนี้ เรือที่พบการกระทำความผิดด้านแรงงานจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเรือเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงแตกต่างกันไปตามฐานความผิด และจะถูกสุ่มตรวจในระหว่างการแจ้งเข้า-ออกท่าเทียบเรือประมง และระหว่างการทำประมง กลางทะเลมากเป็นพิเศษกว่าการตรวจปกติ
ระเบียบการตรวจแรงงานฉบับนี้ถือเป็นคู่มือเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีแนวทางและขั้นตอนการปฎิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองแรงงานภาคประมง และการดำเนินคดี กับผู้กระทำผิดให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นพื้นฐานสำคัญของการเตรียมเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยการทำงานในภาคประมง (C188) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๑
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์)