Thailand is Confident of the IUU-free Tuna Industry ไทยเชื่อมั่นอุตสาหกรรมทูน่าไทยปลอด IUU

Thailand is Confident of the IUU-free Tuna Industry ไทยเชื่อมั่นอุตสาหกรรมทูน่าไทยปลอด IUU

วันที่นำเข้าข้อมูล 11 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 1,173 view

Thailand is Confident of the IUU-free Tuna Industry
 
On 28 – 30 May 2018, Thailand, in cooperation with the Intergovernmental Organisation for Marketing Information and Technical Advisory Services for Fishery Products  in  the  Asia  and  Pacific Region  (INFOFISH),  the  Thai  Tuna  Industry Association,  and  the  Regional  Fisheries  Management  Organisations  including the Indian Ocean Tuna Commission (IOTC), the Inter-American Tropical Tuna Commission (IATTC), and the Western and Central Pacific Fishery Commission (WCPFC), co-hosted the 15th INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition in Bangkok. This is the seventh time that Thailand has been selected as the host of the event, which was attended by over 600 participants from the tuna industry sector from 70 countries.
 
The Royal Thai Government reiterated its commitment at the conference to further the quality development of its tuna products according to international standards, and tackle any IUU fishing. During the past 3 years, Thailand has made remarkable progress through amending the fisheries law, developing the traceability system which covers the entire tuna-processing chain, and forging agreements with trade partner countries, from which Thailand imports frozen tuna, to ensure that raw material for the processing is derived from fish legally caught and from fishing operators that adhere to legal labour practices.
 
The Thai Tuna Industry Association attaches great importance to encourage its members to use catches which are brought in legally and traceable in accordance with  international  practices and  Thai  laws.  The  Association  also  stands  against the use of child labour, forced labour, and human trafficking by encouraging its members to apply ethical codes of conduct in their factories and throughout the entire production chain, and supporting the Government’s effective, fair, strict, and serious enforcement  of  laws  upon  all  vessels  practicing  illegal  fishing. It  also  supports the establishment of employees’ welfare committees to promote relations between employers  and  employees  including  migrant  workers  with  a  view  to  improve the working conditions and upgrade the quality of life of workers. It is notable that such  practices  of  the Thai  Tuna  Industry  Association  have  been  recognised  by the United Nations Working Group on Business and Human Rights which paid a visit to Thailand in late March this year.
 
As Thailand is the top importer of frozen tuna and one of the world’s largest exporters of tuna products, Thailand is ready to join other countries and international organisations in promoting sustainable fishing. In addition to the 15th INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition, Thailand previously hosted the 22nd Session of the Indian Ocean Tuna Commission (IOTC) during 21 – 25 May 2018 in Bangkok to demonstrate its constructive role in reviewing the conservation measures and the management of tuna stocks and tuna-like species, along with showcasing the upgrading of Thailand’s entire tuna industry towards sustainability.
* * * * *
7 June 2018
 
ไทยเชื่อมั่นอุตสาหกรรมทูน่าไทยปลอด IUU
 
เมื่อวันที่ ๒๘ – ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและนิทรรศการการค้า ทูน่าโลก ครั้งที่ ๑๕ (15th INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition) ที่กรุงเทพฯ ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศด้านข่าวสารการตลาดและบริการแนะแนวด้านเทคนิคของสินค้าสัตว์น้ำแห่งเอเชียและแปซิฟิก (INFOFISH) สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (IOTC) คณะกรรมาธิการปลาทูน่าเขตร้อนทวีปอเมริกา (IATTC) และคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง (WCPFC) ซึ่งไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานดังกล่าวเป็นครั้งที่ ๗ แล้ว โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากแวดวงอุตสาหกรรมทูน่าจำนวนมากกว่า ๖๐๐ คน จาก ๗๐ ประเทศทั่วโลก
 
รัฐบาลไทยได้ย้ำความมุ่งมั่นต่อที่ประชุมที่จะส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่า ของไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และการขจัดการทำประมง IUU โดยในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา ไทยได้ปรับปรุงกฎหมายประมง เพิ่มมาตรการตรวจสอบเรือประมงนอกน่านน้ำ จัดตั้งกลไกติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวังที่เป็นระบบ พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับตลอดสายการผลิตทูน่าแปรรูป และทำความตกลงกับประเทศคู่ค้าที่ไทยนำเข้า ปลาทูน่าแช่แข็ง เพื่อประกันว่าปลาทูน่าที่ถูกใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตนั้นมาจากการทำประมงที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย และมีการใช้แรงงานอย่างถูกต้อง
 
สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยได้เน้นการส่งเสริมให้สมาชิกใช้วัตถุดิบสัตว์น้ำจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตามหลักสากลและกฎหมายไทย และได้ร่วมต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ โดยส่งเสริมให้สมาชิกนำแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดีมาใช้ในโรงงานและห่วงโซ่การผลิต รวมถึงสนับสนุนให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เสมอภาค เข้มงวดและจริงจังกับเรือประมงทุกลำที่กระทำผิดกฎหมาย ตลอดจนสนับสนุนคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งรวมถึงแรงงานข้ามชาติ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสภาพการทำงานและยกระดับคุณภาพชีวิต ของแรงงาน ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าวของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยได้รับการยอมรับโดยคณะทำงาน ด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ของสหประชาชาติ ซึ่งเดินทางเยือนไทยเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาด้วย
 
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าปลาทูน่าแช่แข็งอันดับหนึ่งของโลก และส่งออกผลิตภัณฑ์ ปลาทูน่าแปรรูปรายใหญ่ของโลก ประเทศไทยพร้อมที่จะมีส่วนรับผิดชอบในการประมงอย่างยั่งยืนร่วมกับ นานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งนอกจากการประชุมและนิทรรศการการค้าทูน่าโลก ครั้งที่ ๑๕ แล้ว ประเทศไทยยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (IOTC) ครั้งที่ ๒๒ เมื่อวันที่ ๒๑ – ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ที่กรุงเทพฯ เพื่อแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการทบทวนมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรปลาทูน่าและชนิดพันธุ์คล้ายปลาทูน่าให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมทูน่าของไทยทั้งระบบให้เกิดความยั่งยืน
* * * * *
๗ มิถุนายน ๒๕๖๑
 

เอกสารประกอบ

news-20180611-141038-074393.pdf
news-20180611-141045-894368.pdf