Arrests of Two Suspects Involving in Human Trafficking on Fishing Vessels
On 31 May 2018, Pol. Col. Mana Kleebsattabudh, Deputy Commander of Anti-Trafficking in Persons Division, Royal Thai Police, held a press briefing at the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand to update on the legal proceedings of human
trafficking cases in the fisheries sector. The briefing was held in light of the recent arrests of two suspects involved in two cases related to human trafficking on fishing vessels.
The two suspects were accused of luring and forcing the victims to work on board fishing vessels. The first victim was later given assistance by the Royal Thai Embassy in Jakarta for the repatriation out of Ambon Island, Indonesia. The second victim was rescued and returned home by the Royal Thai Consulate-General in Ho Chi Minh, Vietnam. The subsequent investigation led to the arrests of the said suspects on 27 March and 17 May 2018 respectively.
The Royal Thai Government has declared the prevention and suppression of human trafficking a national agenda, and has committed to eradicate the entire human trafficking chain in accordance with the “Zero Tolerance” policy. This goes hand in hand with the improvement of labour measures to be in line with international standards, thus resulting in the reduction in the risk of workers falling victim to human trafficking, particularly on fishing vessels. Moreover, the Thai authorities, namely the Ministry of Foreign Affairs, the Royal Thai Police, the Royal Thai Navy, the Ministry of Social Development and Human Security, the Ministry of Labour, and the Department of Fisheries have joined forces to provide systematic and swift assistance to the victims of human trafficking. From the beginning of 2018, 60 Thai nationals have been rescued by the Thai authorities.11 out of the 60 people were found to be victims of human trafficking.
Since October 2014, Thai authorities have rendered assistance to Thai fishing crews who were stranded on Ambon Island, Indonesia. 160 expatriation trips have been made for 1,694 crews to return to Thailand. Among these crews, 40 were found to be victims of human trafficking. This led to the prosecution of 19 cases, 10 of which have been concluded.
* * * * *
7 June 2018
การจับกุมผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์บนเรือประมง
เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ พ.ต.อ. มานะ กลีบสัตบุศย์ รองผู้บังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินคดีการค้ามนุษย์ในภาคประมง ณ กระทรวง การต่างประเทศ ภายหลังจากที่กองปราบปรามการค้ามนุษย์ได้เข้าจับกุมผู้ต้องหา ๒ รายในคดีค้ามนุษย์ บนเรือประมง ๒ คดี
ผู้ต้องหาทั้ง ๒ คดีได้หลอกลวงและบังคับผู้เสียหายไปทำงานบนเรือประมง ซึ่งผู้เสียหายคดีแรกได้รับ การช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา นำตัวออกมาจากเกาะอำบน ประเทศอินโดนีเซีย และผู้เสียหายคดีที่สองได้รับความช่วยเหลือจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และนำส่ง กลับประเทศไทย จากการสืบสวนคดีได้นำไปสู่การจับกุมผู้ต้องหา ๒ ราย เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม และ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ตามลำดับ
ทางการไทยได้ประกาศให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ และมุ่งมั่นที่จะขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งระบบอย่างเด็ดขาดตามนโยบาย “Zero Tolerance” ควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรการด้านแรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ และสามารถลดความเสี่ยงของแรงงานจากการตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ โดยเฉพาะบนเรือประมง นอกจากนี้ ส่วนราชการไทย ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพเรือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และกรมประมง ได้บูรณาการการทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ในต่างประเทศอย่างรวดเร็ว และเป็นระบบ ซึ่งตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จนถึงปัจจุบัน ทางการไทยได้ช่วยเหลือรับตัวคนไทยกลับมาจากต่างประเทศจำนวน ๖๐ ราย ในจำนวนนี้ตรวจสอบพบว่าเป็นเหยื่อค้ามนุษย์จำนวน ๑๑ ราย
อนึ่ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๗ ทางการไทยยังได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานประมงไทยที่ตกค้างอยู่บน เกาะอำบน ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีการส่งลูกเรือกลับรวมทั้งหมด ๑,๖๙๔ ราย รวมการส่งกลับทั้งหมด ๑๖๐ ครั้ง และพบว่าในจำนวนนี้มีลูกเรือ ๔๐ รายที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ รวมเป็นคดีทั้งหมด ๑๙ คดี ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาแล้วจำนวน ๑๐ คดี
* * * * *
๗ มิถุนายน ๒๕๖๑