ไทยยื่นภาคยานุวัติสารเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงว่าด้วยมาตรการของรัฐเจ้าของท่า

ไทยยื่นภาคยานุวัติสารเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงว่าด้วยมาตรการของรัฐเจ้าของท่า

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,614 view

ไทยยื่นภาคยานุวัติสารเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงว่าด้วยมาตรการของรัฐเจ้าของท่า

          เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นายธนา เวสโกสิทธิ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม พร้อมนายสมพงษ์ นิ่มเชื้อ อัครราชทูต (ฝ่ายการเกษตร) / ผู้แทนถาวรประจำ FAO ได้เข้าพบนาย Jos? Graziano da Silva ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และได้ยื่นภาคยานุวัติสารเพื่อให้ไทยเข้าเป็นภาคีความตกลงว่าด้วยมาตรการของรัฐเจ้าของท่า เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมของ FAO (FAO Agreement on Port State Measures to Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ซึ่งถือเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย

 

          ?การเข้าเป็นภาคีสมาชิกตามความตกลงรัฐเจ้าของท่าเรือดังกล่าวจะช่วยให้ไทยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบควบคุมเรือประมงต่างประเทศ และการป้องกันการนำเข้าสินค้าประมง IUU โดยจะสามารถเพิ่มความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในการต่อต้านการทำประมง IUU กับประเทศภาคีสมาชิกความตกลงได้อย่างกว้างขวางขึ้น? เอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม กล่าว

 

          การเข้าเป็นภาคีความตกลงของไทยแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของรัฐบาลในการนำมาตรฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้แก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยถือเป็นการดำเนินการที่สำคัญของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคประมงไทยทั้งระบบ นอกจากนี้ การเข้าเป็นภาคีความตกลงของไทยจะช่วยสนับสนุนให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญของประชาคมโลกที่ได้ร่วมมือกันต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย

 

มาตรการของรัฐเจ้าของท่าคืออะไร?

          ทางการไทยได้นำมาตรการของรัฐเจ้าของท่ามาใช้ก่อนที่จะเข้าเป็นภาคีความตกลง โดยเริ่มใช้อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่พระราชกำหนด การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ กฎหมายฉบับนี้กำหนดมาตรการตรวจสอบที่เข้มข้น เพื่อไม่ให้เรือประมงต่างชาติที่ทำประมงโดยมิชอบด้วยกฎหมายและนำสัตว์น้ำที่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมายเข้ามาในประเทศไทย

 

          เรือประมงต่างชาติขอเข้าเทียบท่าได้เฉพาะที่ท่าเรือที่ทางการไทยประกาศกำหนด ๒๗ ท่า ซึ่งกำหนดให้ ๑๕ ท่าใช้สำหรับเรือประมงต่างประเทศ และอีก ๑๒ ท่าสำหรับเรือประมงขนาดเล็กของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย เมียนมาร์ และกัมพูชา นำสัตว์น้ำขึ้นท่า

 


          เรือที่ประสงค์จะขอเข้าเทียบท่าจะต้องแจ้งให้ทางการไทยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๔๘ ชั่วโมง หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่า เรือดังกล่าวต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธการเข้าเทียบท่า และอธิบดีกรมประมงมีอำนาจสั่งให้เรือลำนั้นออกจากประเทศไทย และแจ้งให้ทางการของรัฐเจ้าธง รัฐชายฝั่ง และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทราบด้วย ในส่วนของเรือประมงที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเทียบท่า ก็ต้องยื่นคำขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าสัตว์น้ำดังกล่าวไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย

 

 

          เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการของรัฐเจ้าของท่ามีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ทางการไทยกำลังพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและระบบตรวจสอบตามมาตรการรัฐเจ้าของท่า โดยระบบฯ เน้นการจัดเก็บและสอบทานข้อมูลของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบย้อนกลับอย่างบูรณาการ ซึ่งเมื่อการพัฒนาระบบเสร็จสมบูรณ์จะมั่นใจได้ว่าไม่มีสัตว์น้ำที่ได้มาจากการทำการประมงผิดกฎหมายเล็ดลอดเข้ามาในกระบวนการผลิตสินค้าสัตว์น้ำอย่างแน่นอน

 

 

                    *******************************************

 

Thailand accedes to the FAO Agreement on Port State Measures

            On 10 May 2016, H.E. Mr. Tana Weskosith, the Thai Ambassador to Italy, and Mr. Sompong Nimchuar, Minister (Agricultural Affairs) / Permanent Representative to FAO, met with H.E. Mr. Jos? Graziano da Silva, the Director-General of the FAO, to present the Instrument of Accession of the Kingdom of Thailand to the Agreement on Port State Measures to Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated (IUU) Fishing (PSMA). The PSMA is a key international agreement aimed at combating illegal fishing.

 

            ?Thailand?s accession to the PSMA will enhance the control over foreign-flagged fishing vessels and prevent the importation of IUU fish. It will also lead to broader and more effective cooperation between Thailand and other state Parties to the Agreement on information sharing to combat IUU fishing,? said the Thai Ambassador.

 

            The accession to the PSMA underlies the commitment of the Royal Thai Government to comply with the international legal standard on combating IUU fishing and to enhance the conservation and sustainable use of living marine resources. The accession is another milestone for Thailand as the Government continues to advance a comprehensive fisheries reform.   It will also provide a critical momentum for the PSMA to enter into force, marking a major step in the international community?s joint effort to combat IUU fishing. 

 

What are port state measures?

            The Thai Government has started implementing port state measures since the Royal Ordinance on Fisheries 2015 entered into force in November 2015, before the country?s accession to the PSMA. This new fisheries law introduces strict inspection measures designed to prevent the entry of foreign-flagged vessels that engage in illegal fishing into Thailand.

 

            Foreign-flagged vessels may request permission to berth and land their fish at one of the 27 designated ports. Among these ports, 15 are for foreign commercial vessels while 12 are for small vessels from neighboring countries, namely Malaysia, Myanmar and Cambodia.

 

            A vessel that wishes to port in must submit the request to the Thai authorities at least 48 hours in advance. If the competent officer finds evidence that suggests the vessel has been involved in illegal fishing, then the vessel will be denied entry to port. Moreover, the Director-General of the Department of Fisheries may order the vessel to leave Thailand and may inform other relevant flat and costal states and international organizations about the vessel. Any vessel that is allowed to enter a Thai port must also request for permission to land the catch at port, upon which the competent officers will inspect the catch to ensure that it is not a product of illegal fishing.

 

            To strengthen the implementation of port state measures, the Thai agencies are expeditiously developing electronic traceability system for aquatic animals and seafood products, and port state measures monitoring system. The systems will integrate the collection and cross-checking of traceability data and documents. When the development of the system has been completed, no illegal catch will enter the seafood supply chain.