Thailand’s Comments on Report on Labour Situation in Fishing Industry of Human Rights Watch ความเห็นต่อรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานในภาคประมงไทยขององค์กร Human Rights Watch

Thailand’s Comments on Report on Labour Situation in Fishing Industry of Human Rights Watch ความเห็นต่อรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานในภาคประมงไทยขององค์กร Human Rights Watch

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 1,009 view

With regard to the Report published by Human Rights Watch (HRW) on 23rd January 2018, entitled “Hidden Chains: Right Abuses and Forced Labour in Thailand’s Fishing Industry”, the Ministry of Foreign Affairs wishes to state as follows:
 
1. During the last two years, the Royal Thai Government has determined and put a great effort into solving labour problems in the fishing industry.The Government has implemented various legal reforms, policies, and strengthened law enforcement on labour protection as well as engaged closely with the private sector, non-governmental organizations and neighbouring countries. As a result, there has been significant improvement in the labour situation in the fishing industry in many areas. Disappointedly, the Report of HRW contains many outdated references caused by using information from the situation in 2016 and in some cases, dating back to 2012. This shows that there has been no update of the latest status of this issue, and, therefore, the Report does not take into consideration the current progress and efforts made by Thailand in solving labour problems.
 
2. One of the positive steps that Thailand has taken that has led to significant change in the labour situation in the fishing industry is the implementation of the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 (2015). The Royal Ordinance has imposed severe punishments and higher fines, and together with the execution of the labour laws, have led to the deterrence and elimination of labour trafficking and illegal workers on fishing vessels. During the last two years, there have been more than 4,240 cases of fishery-related crimes and labour law violations brought forward before the criminal court, out of which, 85 cases were prosecuted for human trafficking crimes. Over 50 defendants found guilty were jailed with the maximum sentence of 14 years and fined with the maximum of 2.5 million Thai Bahts (67,500 Euros) as well as got their vessels confiscated.
 
3. With regards to the prevention of forced labour, numerous new measures have been introduced. For instance, the issuance of special Seabooks for over 70,600 seamen to date; the stipulation that the work contracts must have two copies drawn up - one of which must be given to the worker; the requirement for employers to pay their fishery workers monthly via bank transfer – so far nearly 5,000 workers have been paid through this channel; the stipulation that withholding the identification documents of workers is a punishable offence under the Prevention and Suppression of Human Trafficking Act; the issuance of new legislation governing recruitment agencies to prohibit debt bondages and the licensing of over 100 recruitment agencies; the revision of the existing regulation regarding to the right to change employers especially in the fishing sector – as of 2017, over 100,000 workers had successfully changed their employers; the relaxation of the pink card regulation to delink the legal status of migrant workers from their employers; and the enforcement of the legislation prohibiting the use of labour under the age of 18 in fishing vessels and processing plants. In 2017, 3 plants were shut down after found with the use of child labour, and the owners are being prosecuted.
 
4. On the issue of awareness raising among workers about their rights, the Royal Thai Government has established three Post-arrival and Reintegration Centres along the border to ensure migrant workers, including those in the fishery sector, receive adequate information about their rights. The Centres also conduct preliminary screening for potential cases of human trafficking and verification of employment contracts. In 2017, 250,000 migrant workers attended the training courses at the Centres and received guidelines on life in Thailand, employment contracts, rights, safety, relevant laws and the complaint mechanisms.
 
5. On the complaint channels, the Royal Thai Government partners with various non-governmental organizations (NGOs) in establishing Migrant Worker Assistance Centers in 10 provinces. In 2017, a total of 57,498 migrant workers were provided with assistance by the Centers, quadruple the number of migrant workers assisted in 2016. Four hotlines available in Thailand's neighboring countries’ languages have been established to serve as a channel for complaints and consultancy for both employers and employees and have been gaining more attention and usages. In 2017, the hotlines received a total number of more than 130,000 calls, including reports on human trafficking cases that led to over 60 cases of prosecution.
 
6. Concerning labour inspections, comprehensive inspections have been carried out, covering areas such as ports, seafood processing establishments and onboard fishing vessels. Risk analysis was incorporated to inspection plans in order to help identify inspection targets. The iris and facial scanning technologies are also applied, in addition to the fingerprint scanning, to over 80,000 workers for more effective inspection. The number of labour inspectors and interpreters has increased to over 1,500 officers. Training courses have been regularly provided for labour inspectors, interpreters and law enforcement officers. In 2017, 32 PIPO centers and 19 Forward Inspection Points conducted inspection and one-to-one interview of over 53,000 migrant workers, of which around 3,500 migrant workers were found being violated under the labour protection law. 358 seafood processing establishments were inspected, of which 142 establishments were found to have violated the laws, and the Ministry of Labour has already assisted the workers and prosecuted the owners of the establishments. The current Labour Protection Act has been amended with a view to intensifying law enforcement by instructing all labour inspectors nationwide that any offenses associated with labour abused must be brought forward to the criminal court immediately, instead of giving order to the operators to correct their practices.
 
7. Several of the HRW’s recommendations are measures that the Thai Government has already undertaking. Thailand is in the process of drafting the “Prevention and Elimination of Forced Labour Act” to be in compliance with the Protocol to the Forced Labour Convention (P29), and the work in fishing law in line with the Work in Fishing Convention (C188). It is anticipated that the drafting process will be complete in late March 2018, thus enabling Thailand to be ready for the ratification by June 2018. Regarding the Right to Organise and Collective Bargaining Convention 98 (C98), an amendment to the domestic legislation is underway and is expected to be completed in September 2018 before the ratification process.
 
8. The ongoing effort to combat labour exploitation has brought forward tangible progress that can be witnessed from the abovementioned statistical figures, which proves the effectiveness of law enforcement in Thailand. The Royal Thai Government categorically denies the HRW’s accusation that Thailand has tried to “white-wash” this problem. This cannot be further from the truth. The Royal Thai Government urges the HRW to take a balance view of the current labour situation in Thailand without prejudice. The narrative that repeats outdated information not only contributes to misunderstanding regarding the Government’s effort to address the problem, but also calls into question the validity and trustworthiness of the report itself. In addition, the launch of this report together with the World Report 2018 by HRW that does not reflect the reality in Thailand, thus leading to questions towards the HRW’s real intention.
 
9. Thailand has always welcomed open discussions and expressed her willingness to work with all the civil society organisations to address the labour issue. However, to solve such a complex problem takes time and cooperation from all neighbouring countries. As a matter of fact, no country can claim to have solved this problem absolutely. The Royal Thai Government would like to thank HRW for following this situation closely and would like to reaffirm our invitation to HRW to work constructively with us. We hope that in the future, HRW will communicate any concern directly to the Royal Thai Government. We are willing to listen to any recommendation that will help us both achieve a common goal of betterment of the migrant workers.
 
10. The Royal Thai Government reaffirms our commitment to combat
the migrant workers exploitation in a holistic manner, not only in the fishing sector, and stands ready to work with all stakeholders in order to enhance our labour practices in alignment with the international labour standard.
 
 
ความเห็นต่อรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานในภาคประมงไทยขององค์กร Human Rights Watch
 
ตามที่องค์กร Human Right Watch (HRW) ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานบังคับในภาคประมงของไทย เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้
 
๑. ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงอย่างจริงจังและได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อคุ้มครองแรงงานทั้งในด้านกฎหมาย นโยบาย และการบังคับใช้ โดยได้ทำงานร่วมกับทั้งภาคเอกชน องค์กรเอกชน และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ด้านแรงงานในภาคประมงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหลายด้าน การที่รายงานอ้างอิงข้อมูลส่วนใหญ่จากสถานการณ์ในปี 2559 และบางส่วนย้อนหลังไปถึงปี 2555 นั้น ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน
 
๒. จุดเปลี่ยนสำคัญของสถานการณ์แรงงานภาคประมงคือ การบังคับใช้ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่กำหนดโทษปรับการใช้แรงงานผิดกฎหมายบนเรือประมงต่อหัวที่สูงมาก ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายด้านแรงงาน ซึ่งส่งผลในการป้องปรามการนำแรงงานผิดกฎหมายมาใช้บนเรือประมง และจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยได้ดำเนินการจับกุมดำเนินคดีกว่า 4,240 คดี ทั้งคดีแรงงานและคดีประมง โดยเป็นการดำเนินคดีค้ามนุษย์ในภาคประมงกว่า 85 คดี ผู้ต้องหาถูกพิพากษาจำคุกไปแล้วกว่า ๕๐ ราย โดยมีโทษจำคุกสูงสุดถึง ๑๔ ปี และมีโทษปรับสูงสุด ๒.๕ ล้านบาท และริบเรือ
 
๓. ในประเด็นการป้องกันแรงงานบังคับ มีมาตรการใหม่หลายด้าน อาทิ การออกหนังสือคนประจำเรือให้กับแรงงานต่างด้าวไปแล้วกว่า ๗๐,๖๐๐ ราย การกำหนดให้เจ้าของเรือจัดทำหนังสือสัญญาจ้าง จำนวน ๒ ฉบับ โดยมอบให้ลูกจ้างเก็บไว้ ๑ ฉบับ การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนผ่านบัญชีธนาคารซึ่งมีแรงงานประมงที่ได้รับค่าตอบแทนผ่านบัญชีธนาคารแล้วประมาณเกือบ 5,000 ราย การกำหนดให้การยึดเอกสารประจำตัวของแรงงานเป็นความผิดตามกฎหมายค้ามนุษย์ และการออกกฎหมายจัดระเบียบบริษัทจัดหางาน โดยห้ามเรียกเก็บค่านายหน้าจากแรงงาน และให้บริษัทมาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ซึ่งมาขอขึ้นทะเบียนแล้วกว่า ๑๐๐ บริษัท การกำหนดหลักเกณฑ์ให้แรงงานสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะในภาคประมง โดย ณ สิ้นปี ๒๕๖๐ มีแรงงานต่างด้าวยื่นขอเปลี่ยนนายจ้างแล้วมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ราย การผ่อนปรนเรื่องบัตรชมพูไม่ให้ยึดติดกับนายจ้างและการออกกฎหมายห้ามใช้แรงงานอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีในเรือประมงและโรงงานแปรรูปอาหารทะเล เมื่อปี ๒๕๕๙ ซึ่งในปี ๒๕๖๐ มีการสั่งปิดโรงงานที่พบการใช้แรงงานเด็กจำนวน ๓ โรง และอยู่ระหว่าง การดำเนินคดีกับเจ้าของโรงงาน
 
๔. ในประเด็นการรับรู้สิทธิของแรงงาน รัฐบาลไทยได้จัดตั้งศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง ๓ แห่งตามแนวเขตชายแดน ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ แก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งรวมถึงแรงงานในภาคประมง ตลอดจนตรวจคัดกรองว่าแรงงานต่างด้าวมีนายจ้างจริงตรงตามสัญญาจ้าง ไม่ได้ถูกชักจูง หลอกลวงโดยในปี 2560 อบรมให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวทั้งหมดกว่า 250,000 ราย พร้อมทั้งได้แจกเอกสารคู่มือสำหรับแรงงานต่างด้าว ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย สัญญาจ้าง สิทธิประโยชน์ ความปลอดภัย กฎหมายและข้อห้าม รวมทั้งการขอรับความช่วยเหลือในประเทศไทย
 
๕. ในประเด็นกลไกร้องเรียน รัฐบาลไทยยังได้ทำงานร่วมกับองค์กรเอกชน จัดตั้งศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวใน 10 จังหวัด ในปี 2560 ได้ให้การช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวทั้งหมด 57,498 ราย เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2559 และมีช่องทางร้องเรียนต่าง ๆ อาทิ บริการสายด่วน ๔ สาย สำหรับคุ้มครองแรงงาน และให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ผู้หางานทำ และรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งให้บริการเป็นภาษาประเทศเพื่อนบ้านมีผู้ใช้บริการมากขึ้นในปี 2560 รวมกว่า 130,000 ราย โดยมีการแจ้งเบาะแสการค้ามนุษย์ และนำไปสู่การดำเนินคดีกว่า 60 ราย
 
๖. ในประเด็นการตรวจแรงงาน มีการดำเนินการอย่างครอบคลุมทั้งที่ท่าเรือ บนเรือ และโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อให้หาเป้าหมายได้ตรงจุด มีการใช้เทคโนโลยีการสแกนม่านตาและใบหน้าเพิ่มขึ้นจากการสแกนลายนิ้วมือลูกเรือประมงทั้งหมดกว่า ๘๐,๐๐๐ คน เพื่อให้การตรวจแรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการเพิ่มจำนวนผู้ตรวจและล่ามกว่า ๑,๕๐๐ คน ตลอดจนการฝึกอบรมผู้ตรวจแรงงาน ล่าม และเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 ศูนย์แจ้งเข้า-ออกเรือประมง 32 แห่ง และจุดตรวจเรือประมงส่วนหน้าทั้ง ๑๙ แห่ง ได้มีการตรวจและสัมภาษณ์แรงงานประมงจำนวนกว่า 53,000 คน ซึ่งได้มีการแยกแรงงานมาสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ได้พบแรงงานถูกละเมิด 3,500 คน และมีการตรวจแรงงานในสถานประกอบการแปรรูป 358 แห่ง พบการกระทำผิดใน 142 แห่ง ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ให้การช่วยเหลือและดำเนินการกับเจ้าของสถานประกอบการเหล่านี้แล้ว ปัจจุบัน ได้มีการออกคำสั่งให้พนักงานตรวจแรงงานทั่วประเทศ เมื่อพบกรณีการละเมิดสิทธิของแรงงาน ให้ดำเนินคดีอาญาทันที โดยไม่ต้องรอออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติในอดีตที่เคยให้โอกาสนายจ้างได้ทำให้ถูกกฎหมายก่อน
 
๗. ข้อเสนอแนะของ HRW หลายเรื่องเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยดำเนินการอยู่แล้ว โดยเฉพาะในด้านกฎหมายนั้น ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและขจัดแรงงานบังคับ เพื่อรองรับการให้สัตยาบันพิธีสารภายใต้อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยแรงงานบังคับ และอยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายเพื่อรองรับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๘ ว่าด้วยการทำงานในภาคประมงทะเล โดยกำหนดให้การร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพิธีสารและอนุสัญญาดังกล่าวแล้วเสร็จภายในปลายเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ และคาดว่าจะให้สัตยาบันในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ ต่อไป ในส่วนของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิ ในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายใน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๑ ก่อนดำเนินการเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ต่อไป
 
๘. การแก้ไขปัญหาแรงงานของไทยมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมชัดเจนจากตัวเลขสถิติต่าง ๆ ในหลายด้านข้างต้น ซึ่งสะท้อนว่าการบังคับใช้กฎหมายของไทยเป็นไปอย่างจริงจัง รัฐบาลไทยขอปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อข้อกล่าวหาของ HRW ว่าไทยแก้ไขปัญหาแรงงานแบบผักชีโรยหน้า ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างสิ้นเชิง และขอเรียกร้องให้ HRW มองสถานการณ์ด้านแรงงานของไทยอย่างสมดุลและปราศจากอคติโดยไม่นำข้อมูลในอดีตมากล่าวอ้างซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อความพยายามแก้ไขปัญหาของรัฐบาลจนเกิดข้อสงสัยต่อความน่าเชื่อถือและคุณค่าของรายงาน อีกทั้งการออกรายงานฉบับนี้พร้อมกับรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี ค.ศ. ๒๐๑๘ ที่มีข้อมูลไม่สะท้อนความเป็นจริงในประเทศไทยเช่นกัน ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามได้ถึงเจตนาอันแท้จริงของ HRW
 
๙. ที่ผ่านมาไทยได้เปิดเวทีหารือและทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ มาโดยตลอดแต่โดยที่ปัญหาแรงงานเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข และด้วยความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็ไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ รัฐบาลไทยขอขอบคุณ HRWที่ติดตามสถานการณ์แรงงานภาคประมงของไทยอย่างใกล้ชิด และยังคงยืนยันคำเชิญเดิมที่เคยให้กับ HRW ตลอดมาว่า ขอให้ร่วมทำงานกับไทยอย่างสร้างสรรค์และฉันมิตร โดยหวังว่าในโอกาสต่อไป HRW จะสื่อสารข้อห่วงกังวลกับรัฐบาลไทยโดยตรง ซึ่งไทยพร้อมรับฟังและนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข
 
๑๐. รัฐบาลไทยขอยืนยันความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะเพียงในภาคประมงเท่านั้น โดยพร้อมจะทำงานกับทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานในทุกด้านให้สอดคล้องกับหลักสากลต่อไป