The prosecution of the fishing vessel “Chotchainavee 35” and the rescue missions of the Thai fishing crews on “Chotpattana 51” and “Chotpattana 55” การดำเนินคดีกับเรือประมง Chotchainavee 35 และ การช่วยเหลือลูกเรือไทยบนเรือประมง Chotpattana 51 และ Chotpat

The prosecution of the fishing vessel “Chotchainavee 35” and the rescue missions of the Thai fishing crews on “Chotpattana 51” and “Chotpattana 55” การดำเนินคดีกับเรือประมง Chotchainavee 35 และ การช่วยเหลือลูกเรือไทยบนเรือประมง Chotpattana 51 และ Chotpat

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,194 view

On 15 January 2018, the Ministry of Foreign Affairs was informed by the Royal Thai Embassy in Colombo, while simultaneously received the alerts from the Directorate-General for Maritime Affairs and Fisheries (DG MARE) of the European Commission and the INTERPOL, that on 11 – 12 January 2018, the Maldives Coast Guard had detained the Somali-flagged fishing vessel “Chotpattana 55” with 10 Thai crews on board, along with fishing vessel “Chotpattana 51” with 12 Thai crews respectively, on charges of illegal entry into Maldives waters. Each vessel contained 200-ton catch, and there was evidence that both vessels could be stateless.
 
The two aforementioned fishing vessels had connections with another fishing vessel titled “Chotchainavee 35”. Previously on 2 May 2017, the Thai authorities, namely the Command Center for Combatting Illegal Fishing (CCCIF) and the Royal Thai Police, intercepted the Djibouti-flagged “Chotchainavee 35” while heading into Thai waters. The interception was due to the in-depth information received from a New York Times journalist who has been keeping track of these vessels for quite some time since they have been suspected of conducting illegal fishing in Somali waters. After the inspection, the Thai authorities found 448 tons of catch which was well over of the 270 tons quota granted in the fishing license by the Puntland authority of the Federal Republic of Somalia. Moreover, the vessel operator failed to provide clear evidence that the catch on board was obtained legally within the deadline. Thus, the Department of Fisheries subsequently issued an order to confiscate the vessel, its catch and all assets on board on 27 July 2017.
 
On 30 July 2017, the Department of Fisheries filed charges against “Chotchainavee 35” with reference to Article 94 of the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 (2015) and its revision B.E. 2560 (2017), which states that no person shall bring a non-Thai fishing vessel that has undertaken illegal, unreported and unregulated (IUU) fishing into the Kingdom, those contravening will be liable to the maximum fine not exceeding 30 million Thai Bahts. At present, the Department of Fisheries is in the process of distributing the seized aquatic animals or the aquatic animal products from “Chotchanavee 35” to impoverished or under privileged members of the public, which is in accordance with Article 96, Paragraph 3 of the Royal Ordinance, and would put the vessel and its properties up for auction. Furthermore, the Thai authorities are in the process of prosecuting the owner of “Chotchainavee 35”. It is notable that the vessel is currently stateless since Djibouti has revoked the vessel’s registration since 1 June 2017.
 
As for the linkage between the three fishing vessels “Chotchainavee 35”, “Chotpattana 51”, and “Chotpattana 55”, they were formerly Thai-flagged, and belonged to the same operator owned by a group of Thai nationals. Later on, these three vessels gave up its Thai registration and obtained Djibouti flags to fish in Puntland which is part of the Federal Republic of Somalia.
 
The three vessels are part of the fishing fleet that the Thai authorities, in cooperation with the INTERPOL, has been monitoring their fishing and the use of labour aboard for months. In addition, the Thai authorities has issued a notice seeking cooperation from other countries, in case these vessels are found, in keeping track, running the vessel inspection and documents check, as well as interviewing the crews. “Chotpattana 51” and “Chotpattana 55” were eventually captured by the Maldives authorities.
 
In addition to the ownership linkage, another connection among these vessels were found when it was discovered that some crews registered with “Chotpattana 55” were found on board “Chotchainavee 35” upon returning to Thailand. According to the interrogation of the Cambodian crews on “Chotchainavee 35”, there were Cambodian and Thai crews on board “Chotpattana 51” and “Chotpattana 55”, which were then in Somali waters, needing assistance to return home due to, according to their information, the poor condition of living on board. The Royal Thai Government then reached out to the Government of Cambodia and the Government of the Federal Republic of Somalia, as well as the International Organization of Migration (IOM), to provide assistance to the crews. Eventually, all 18 Cambodian crews were rescued and returned to their home country on 11 September 2017, and 35 Thai crews were able to return to Thailand on 13 November 2017. However afterwards, the captains took the vessels with the 22 remaining Thai crews out of Somali waters, and subsequently all were captured in Maldives waters on the initial charge of illegal entry into the Maldives.
 
The Royal Thai Police has conducted further investigation on the Thai crews upon their arrival in Thailand. The Cambodian Government also kindly cooperated in conducting additional interrogation with the Cambodian crews. Furthermore, on 17 January 2018, Thai police officers and officials from the Department of Fisheries traveled to the Maldives to take part in observing the interrogation of the captured crews with Maldives police’s cooperation, as well as to inspect the vessel and the catch with the INTERPOL team for any evidence of illegal fishing and the use of forced labour. Officials from the Royal Thai Embassy in Colombo also acted as interpreters during the interrogation.
 
Since their capture, the Royal Thai Embassy in Colombo has provided consular assistance and procured necessary supplies to the crews of “Chotpattana 51” and “Chotpattana 55”. The Royal Thai Embassy has also coordinated closely with Maldives authorities in an attempt to bring all the crews back to Thailand. As of now, the Maldives police has completed the interrogation of the captains and all crews of both vessels, but still pending the legal order allowing all the crews to return home. In the meantime, the Royal Thai Embassy has already begun the process for the repatriation of the 22 crews which will commence as soon as the legal process is completed. However, the prosecution of the ship captains, and the decision on the vessel and the catch are subject to the Maldives authorities.
 
The Royal Thai Government wishes to extend its appreciation to all concerned agencies, including the New York Time journalist, DG MARE, INTERPOL, non-profit organizations such as SkyTruth, Trygg Mat Tracking (TMT), Catapult network, as well as Greenpeace, IOM, the Government of Cambodia, the Government of the Federal Republic of Somalia, and particularly the Government of the Maldives for their close cooperation that enables the crews wishing to return home to arrive home safely. To date, there are 21 crews remaining in the Maldives (one of the crews was sent home on 27 January 2018 due to sickness and stress), and the Royal Thai Embassy in Colombo is closely following up on their well-being and ready to provide any necessary assistance to them.
 
The progress made so far clearly demonstrates the determination of the Thai authorities in strengthening law enforcement and closing any existing legal loophole in the past which enabled wrongdoers to benefit from gaps in the law. For instance, at present, Article 8 of the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 and its revision B.E. 2560 states the penalties for all Thai, non-Thai, and stateless vessels associated with Thai beneficiaries, thus enabling the Thai law enforcement authorities to pursue the prosecution, in line with the international Agreements and Conventions related to fisheries conservation and management by which Thailand is obliged. As the result, this prevents Thai fishing operators to undertake illegal fishing under foreign flags in order to avoid Thai strict fisheries law and regulations.
 
In addition, the Marine Department issued the Announcement prohibiting the transfer of ownership and the revocation of Thai-flagged vessel registration while being prosecuted to ensure that the said vessel remains under the authority’s control until the case has come to completion, and to prevent the revocation of vessel registration and reflagging of vessels to other nationalities to continue fishing.
 
Thailand, as a party to the Port State Measure Agreement, has fully implemented its obligation under Article 95 of the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 and its revision B.E. 2560 in designating 22 ports for foreign vessels, and imposing stricter control measures by requesting all foreign vessels, with or without aquatic animals, entering Thai territory to give advance notice to the Thai authorities for an entry into Thai waters in accordance with the timeframe announced by the Department of Fisheries. The Thai authorities will inspect vessels that offload their catch at Thailand-designated ports and coordinate with the relevant countries to verify the authenticity of documents. Moreover, Thailand will cooperate with other countries and Regional Fisheries Management Organizations to keep track on vessels suspected of engaging in illegal fishing.
 
In conclusion, the Royal Thai Government would like to emphasize that, whether the vessel is owned by foreigners, or non-Thai flagged, or owned by Thai nationals but non-Thai flagged, Thailand is implementing much stricter measures on monitoring vessels entering and departing Thai territorial waters than in the past. Thailand will continue to apply the full use of law enforcement in all cases in our unwavering move towards IUU-free and forced labor-free Thailand.
 
 
การดำเนินคดีกับเรือประมง Chotchainavee 35 และ การช่วยเหลือลูกเรือไทยบนเรือประมง Chotpattana 51 และ Chotpattana 55
 
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ พร้อมกับได้รับการแจ้งเตือนจาก DG MARE สหภาพยุโรป และองค์การตำรวจสากล ว่า เมื่อวันที่ 11 และ 12 มกราคม 2561 หน่วยป้องกันชายฝั่งมัลดีฟส์ได้สกัดเรือ Chotpattana 55 ชักธงโซมาเลีย พร้อมลูกเรือไทยจำนวน 10 คน และเรือ Chotpattana 51 พร้อมลูกเรือไทยจำนวน 12 คน ตามลำดับ ในข้อหาเข้าน่านน้ำมัลดีฟส์ผิดกฎหมาย โดยเรือได้บรรทุกสัตว์น้ำลำละ 200 ตัน และมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเรือ 2 ลำนี้อาจเป็นเรือไร้สัญชาติ
 
 
เรือทั้งสองลำนี้มีความเกี่ยวโยงกับเรือ Chotchainavee 35 โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ทางการไทยประกอบด้วยศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปผม.) และตำรวจ ได้เข้าสกัดตรวจเรือลำดังกล่าว ซึ่งในขณะที่แล่นเข้าสู่น่านน้ำไทย เป็นเรือประมงที่ชักธง ของสาธารณรัฐจิบูตี สาเหตุที่ทางการไทยเข้าสกัดและตรวจเรือลำดังกล่าวเป็นเพราะได้รับข้อมูลเชิงลึก จากผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ New York Times ซึ่งติดตามทำข่าวเรือตระกูลนี้มาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจาก มีข้อสงสัยว่าเรือลำดังกล่าวมีพฤติกรรมทำการประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำโซมาเลีย จากการตรวจสอบเรือ Chotchainavee 35 ทางการไทยพบว่า เรือมีปริมาณสัตว์น้ำจำนวนถึง 448 ตัน ซึ่งมากเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงในรัฐปุนแลนด์ของโซมาเลียที่กำหนดไว้ 270 ตัน นอกจากนี้ บริษัทเจ้าของเรือไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนตามระยะเวลาที่กำหนด ว่าสัตว์น้ำบนเรือไม่ได้มาจากการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมประมงจึงได้มีคำสั่งยึดเรือ สัตว์น้ำ และทรัพย์สินทั้งหมดในเรือ Chotchainavee 35 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2560 กรมประมงได้เข้าแจ้งความเอาผิดกับเรือ Chotchainavee 35 ในฐานกระทำผิด พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2560 มาตรา 94 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดนำเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักร มีโทษปรับทางอาญาสูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยขณะนี้ กรมประมงกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการ ที่จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งหมดที่ยึดได้จากเรือ Chotchainavee 35 ออกแจกจ่ายให้กับผู้ยากไร้หรือด้อยโอกาส ตามบทบัญญัติในมาตรา 96 วรรคสามของ พ.ร.ก.ฯ และขายทอดตลาดเรือและทรัพย์สินในเรือประมงต่อไป นอกจากนี้ ทางการไทยกำลังดำเนินคดีกับเจ้าของเรือ Chotchainavee 35 ด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เรือลำดังกล่าวมีสถานะเป็นเรือไร้สัญชาติด้วยแล้ว เนื่องจากจิบูติได้ถอนสัญชาติของเรือ Chotchainavee 35 แล้วเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560
 
สำหรับความเชื่อมโยงระหว่างเรือ Chotchainavee 35 Chotpattana 51 และ Chotpattana 55 นั้น เรือทั้งสามลำนี้เป็นกลุ่มเรือที่ในอดีตเคยเป็นเรือชักธงไทย และทั้งสามลำเป็นของบริษัทเดียวกันที่มีเจ้าของเป็นกลุ่มบุคคลสัญชาติไทย ต่อมาเรือทั้งสามลำนี้ได้ถอนทะเบียนไปชักธงจิบูติและทำการประมงในน่านน้ำรัฐปุนท์แลนด์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย เรือทั้งสามลำนี้เป็นส่วนหนึ่งของเรือ ที่ทางการไทยร่วมกับตำรวจสากลในการติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการทำประมงและการใช้แรงงาน บนเรือมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว และได้ออกเอกสารแจ้งเตือนไปยังประเทศต่าง ๆ พร้อมทั้ง ขอความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบเรือเหล่านี้ หากประเทศใดพบ ขอให้เก็บข้อมูล ตรวจเรือ ตรวจเอกสาร สัมภาษณ์ลูกเรือ และร่วมมือกับทางการไทยในการที่จะจัดการกับเรือดังกล่าว จนต่อมา เรือสองลำ คือ Chotpattana 51 และ Chotpattana 55 ได้ถูกทางการมัลดีฟส์สกัดจับได้ในที่สุด
 
นอกจากความเชื่อมโยงระหว่างเรือ Chotchainavee 35 Chotpattana 51 และ Chotpattana 55 ผ่านทางบริษัทเจ้าของเรือบริษัทเดียวกันแล้ว ยังพบความเชื่อมโยงอีกประเด็นหนึ่งคือ มีลูกเรือ ที่ออกเดินทางไปกับเรือ Chotpattana 55 แต่กลับเดินทางกลับมาประเทศไทยกับเรือ Chotchainavee 35 และจากการสอบสวนลูกเรือชาวกัมพูชาบนเรือ Chotchainavee 35 พบว่า มีลูกเรือชาวกัมพูชา และลูกเรือไทยบนเรือ Chotpattana 51 และ Chotpattana 55 ที่ทำประมงอยู่ในน่านน้ำโซมาเลีย ที่ต้องการขอความช่วยเหลือให้ได้เดินทางกลับประเทศไทย เนื่องจากลูกเรือเหล่านี้ให้ข้อมูลว่า มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมากบนเรือ ทางการไทยจึงได้ประสานกับรัฐบาลกัมพูชา รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ในการช่วยเหลือลูกเรือ จนสามารถส่งกลับลูกเรือกัมพูชาทั้งหมดจำนวน 18 คนกลับประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 และส่งกลับลูกเรือไทยจำนวน 35 คน กลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 หลังจากนั้น กัปตันเรือได้นำลูกเรือไทยที่เหลืออีก 22 คน ออกเดินทางจากน่านน้ำโซมาเลีย และมาถูกสกัดจับในเขตน่านน้ำมัลดีฟส์ในข้อหาเบื้องต้นคือ เข้าน่านน้ำมัลดีฟส์โดยมิได้รับอนุญาต
 
พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบปากคำลูกเรือไทยชุดที่เดินทางกลับถึงไทยแล้ว และได้รับ ความร่วมมือจากรัฐบาลกัมพูชาในการสอบปากคำลูกเรือกัมพูชาเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยพร้อมเจ้าหน้าที่กรมประมง ได้เดินทางไปยังมัลดีฟส์ โดยได้รับความร่วมมือจากตำรวจมัลดีฟส์ในการอนุญาตให้คณะจากไทยเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบปากคำลูกเรือและขึ้นตรวจเรือและสัตว์น้ำบนเรือพร้อมกับผู้แทนองค์การตำรวจสากล เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมายและการใช้แรงงานบังคับบนเรือ โดยมีเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ทำหน้าที่ล่ามในระหว่างการสอบปากคำ
 
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ได้ให้การช่วยเหลือลูกเรือบนเรือ Chotpattana 51 และ Chotpattana 55 และได้จัดหาสิ่งของบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น และติดตามกับทางการมัลดีฟส์อย่างใกล้ชิดในการช่วยเหลือลูกเรือที่เหลืออยู่ทั้งหมดกลับประเทศ ขณะนี้ตำรวจมัลดีฟส์ได้สอบปากคำลูกเรือทั้งหมดและกัปตันเรือทั้งสองลำแล้ว แต่ยังต้องรอกระบวนการทางกฎหมายของทางการมัลดีฟส์ในการมีคำสั่งส่งตัวลูกเรือกลับประเทศไทย ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตได้เตรียมความพร้อมแล้วในการรับลูกเรือทั้ง 22 คน ขึ้นจากเรือและส่งกลับไทย เมื่อกระบวนการทางกฎหมายในมัลดีฟส์สิ้นสุดลง ทั้งนี้ ในส่วนการดำเนินคดี กับกัปตันเรือ สถานะของเรือประมงและสัตว์น้ำบนเรือ ยังอยู่ภายใต้กระบวนการทางกฎหมาย ของทางการมัลดีฟส์
 
ทั้งหมดนี้ รัฐบาลไทยขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ New York Times, DG MARE สหภาพยุโรป, องค์การตำรวจสากล, องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร คือ SkyTruth, Trygg Mat Tracking (TMT), Catapult network, ตลอดจน Greenpeace, IOM รัฐบาลกัมพูชา สหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย และโดยเฉพาะรัฐบาลมัลดีฟส์ ที่ได้ให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกันกับประเทศไทยอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด จนทำให้ไทยสามารถช่วยลูกเรือที่ต้องการความช่วยเหลือเดินทางกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย ขณะนี้เหลือเพียง 21 ราย (ลูกเรือ 1 คน ได้ถูกส่งกลับไทยแล้วเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2561 เนื่องจากมีอาการป่วยและเครียดมาก) ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ กำลังติดตามและคอยให้ความช่วยเหลือระหว่างที่ลูกเรือยังต้องพำนักอยู่ที่มัลดีฟส์
 
ทั้งหมดนี้ เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความเอาจริงในการบังคับใช้กฎหมายของไทยและความพยายามในการอุดรูรั่วทางกฎหมายไทยในอดีตที่เคยเปิดช่องให้ผู้กระทำผิดใช้ประโยชน์จากช่องว่างทางกฎหมายไทยได้ เช่น ปัจจุบัน ไทยมี พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2560 มาตรา 8 ซึ่งได้กำหนดบทลงโทษที่ครอบคลุมทั้งเรือประมงไทย เรือประมงที่ไม่ใช่เรือประมงไทย และเรือไร้สัญชาติ ที่มีผู้รับผลประโยชน์เป็นคนไทย ทำให้ปัจจุบัน หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทยสามารถดำเนินคดี ตามกฎหมายได้ อันเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศและอนุสัญญาเกี่ยวกับ การอนุรักษ์และบริหารจัดการประมงที่ประเทศไทยเป็นภาคีด้วย ซึ่งเป็นมาตรการป้องปรามมิให้ผู้ประกอบการชาวไทยหลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายประมงที่เข้มงวดของไทย เพื่อลักลอบออกไปทำประมงผิดกฎหมายโดยชักธงต่างประเทศได้
 
นอกจากนี้ ไทยยังได้ออกประกาศกรมเจ้าท่า ห้ามโอนกรรมสิทธิและห้ามเพิกถอนทะเบียนเรือสัญชาติไทยที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี เพื่อให้มั่นใจว่าเรือจะยังคงอยู่ในความควบคุมของรัฐจนสิ้น กระบวนความ และป้องกันมิให้มีการถอนทะเบียนและเปลี่ยนสัญชาติเรือ เพื่อชักธงสัญชาติอื่นกลับออกไปทำการประมงได้อีก
 
นอกจากนี้ ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าของท่า ยังได้ดำเนินการตามพันธกรณีซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 95 ของ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2560 โดยไทยได้กำหนดท่าเทียบเรือประมงต่างชาติจำนวนทั้งสิ้น 22 ท่า อีกทั้งยังได้ปรับปรุงมาตรการ ให้มีความรัดกุมขึ้น โดยหากเป็นเรือประมงต่างชาติไม่ว่าจะมีสัตว์น้ำหรือไม่มีสัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อขอเข้าท่าตามระยะเวลาที่ประกาศกรมประมงกำหนด เจ้าหน้าที่ จะขึ้นตรวจสอบเรือประมงที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าในประเทศไทย โดยจะประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจความถูกต้องของเอกสาร ตลอดจนการเข้าร่วมกับนานาประเทศและองค์การบริหารการประมงในภูมิภาคเพื่อติดตามเรือประมงที่ต้องสงสัยว่าจะมีการทำการประมงผิดกฎหมาย
 
รัฐบาลไทยขอย้ำว่า ไม่ว่าเจ้าของเรือจะเป็นชาวต่างชาติ และเรือชักธงชาติอื่น หรือเจ้าของเรือ เป็นคนไทยแต่ได้นำเรือไปชักธงชาติอื่น หากนำเรือเข้ามาในน่านน้ำไทยจะต้องเผชิญกับมาตรการตรวจตรา และกำกับดูแลเรือเข้า-ออกน่านน้ำไทย ที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกว่าในอดีตมาก และรัฐบาลไทยจะเดินหน้าบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในทุกกรณีเพื่อให้ประเทศไทยปราศจากสัตว์น้ำ IUU และการใช้แรงงานบังคับในภาคประมงให้ได้