On 11 March 2018, H.E. Mr. Virachai Plasai, Ambassador and Permanent Representative of Thailand to the United Nations in New York, presided over the opening of the “Thailand’s Path to Sustainable Fisheries” Seminar, held during the Seafood Expo North America (SENA) 2018 at Boston Convention and Exhibition Center, Boston, USA. Presented alongside representatives from Thai government agencies and the business community was Ms. Apinya Tajit, Deputy Director of Stella Maris, an NGO that has been working closely with the Thai Government on increasing protection of the migrant workers in the fisheries sector.
Ms. Apinya Tajit spoke to an audience comprising representatives from agencies of the US government, International Organisations, major importers of fisheries products, National Fisheries Institute, as well as media representatives. At the outset, she clearly stated that her presence did not indicate to support the Thai Government, but wished to tell the truth regarding the situation on the ground. She stressed that the situation has drastically improved as there has been closer coordination among the Thai government agencies and various NGOs in solving the labour issues. Another milestone is that NGOs now have seats in the Working Group on Labour Relations Promotion in Sea Fishing Operation, to work with the government to ensure that seafarers are better protected, not only as part of the inspection teams, but also as part of the law enforcement teams. She asked the audience to see for themselves what is happening in Thailand and to be cautious of news reports which may be biased and based on old data prior to Thailand’s embarking on the reform of labour management in the fisheries sector three years ago.
Her words echoed those of Ambassador Virachai who summarised the overall progress of Thailand’s fight against IUU fishing. He emphasised that Thailand has some of the most advanced laws against IUU fishing in the world. The efforts and progress made by Thailand was recognised in the International Labour Organization (ILO)’s “Baseline research findings on fishers and seafood workers in Thailand” report which was published on 28 February 2018. The report recognised the positive developments for workers in the fisheries sector with fewer cases of physical violence and a significant reduction in child labour. The ILO acknowledged that Thailand is currently at the forefront for promoting fair treatment of migrant workers in the region.
The major importers who attended the seminar, including Walmart, showed confidence in Thailand’s direction towards combatting IUU fishing and illegal labour and praised the progress achieved so far. They also viewed Thailand as a regional leader in solving this complex problem and were willing to work with Thailand to introduce successful fishing-related measures to nearby countries. Mr. Poj Aramwattananont, President of the Thai Frozen Food Association, representing the Thai private sector, also assured the audience that all sectors in Thailand are committed to working together. The Thai private sector fully supports the government in strictly adhering to the laws and regulations with regard to treatment of migrant workers as well as the relevant regulations in the fisheries industry so that the seafood products from Thailand will meet international standards.
In addition to the previous mentioned speakers, the Thai delegation, composed of Mrs. Petcharat Sin-auay, Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Labour, Mr. Adisorn Promthep, Director-General of the Department of Fisheries, and Pol Lt Gen Jaruwat Waisaya, head of law enforcement at the Command Center for Combating Illegal Fishing, also took part in addressing the audience and answering questions regarding the combatting of IUU fishing, the path towards sustainable fisheries, IUU-free Thailand policy, measures to prevent forced labour, and effective law enforcement against wrongdoers.
NGO ย้ำสถานการณ์แรงงานภาคประมงของไทยเปลี่ยนแปลงดีขึ้น
เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑ นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ "Thailand’s Path to Sustainable Fisheries” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการจัดงานแสดงสินค้า Seafood Expo North America (SENA) 2018 ณ Boston Convention and Exhibition Center เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยมีนางอภิญญา ทาจิตต์ รองผู้อำนวยการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทางทะเล (Stella Maris) ซึ่งเป็น NGO ที่ทำงานร่วมกับภาครัฐในการให้การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในภาคประมงทะเลของไทยเข้าร่วมด้วย
นางอภิญญาฯ ได้กล่าวให้ผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐฯ องค์การระหว่างประเทศ บริษัทผู้นำเข้าสินค้าประมง สถาบันประมงแห่งชาติของสหรัฐฯ และสื่อมวลชน ทราบว่า Stella Maris ไม่ได้ส่งผู้แทนมาเพื่อสนับสนุนรัฐบาล แต่มาเล่าความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยยืนยันว่าปัจจุบันสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในไทยได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจริง มีการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ NGOs และเอกชน และเป็นครั้งแรกที่ NGOs มีที่นั่งอยู่ในคณะทำงานแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐ โดยเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมตรวจสอบและสอบสวน และเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงานรับทราบความจริงในพื้นที่ด้วยตนเอง อย่าเชื่อข่าวทันทีเพราะอาจเป็นข้อมูลเก่า ก่อนที่ไทยจะปฏิรูปการบริหารจัดการแรงงานภาคประมงเมื่อช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลของ Stella Maris สอดคล้องกับคำกล่าวของ ออท. วีระชัยฯ ซึ่งแจ้งให้ผู้เข้าร่วมงานทราบถึงภาพรวมความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาของไทย จากการที่ประเทศไทยมีกฎหมายต่อต้านการประมงผิดกฎหมายที่ก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง ซึ่งความพยายามและความก้าวหน้าของไทยได้รับการสะท้อนอยู่ในรายงานภายใต้โครงการ Ship to Shore Rights ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization – ILO) ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ซึ่งยอมรับว่าสถานการณ์แรงงานประมงของไทยได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดีขึ้นมาก สถิติแรงงานถูกทำร้ายร่างกาย และการใช้แรงงานเด็กลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเห็นว่าปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่อยู่ในแนวหน้าของการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในภูมิภาค
ผู้นำเข้ารายสำคัญที่เข้าฟังการเสวนา อาทิ Walmart ได้แสดงความเชื่อมั่นแนวทางแก้ไขปัญหาประมงและแรงงานผิดกฎหมายของไทย และชื่นชมความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น โดยเห็นไทยเป็นผู้นำของการแก้ไขปัญหานี้ในภูมิภาคเช่นกัน และพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการขยายมาตรการแก้ไขปัญหาไปสู่ระดับภูมิภาค ในขณะที่นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ผู้แทนภาคเอกชนของไทย ได้กล่าวเสริมยืนยันให้ผู้เข้าร่วมงานเห็นว่า การแก้ไขปัญหาของไทย ขับเคลื่อนไปพร้อมกันในทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง โดยภาคเอกชนได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว และกฎระเบียบในอุตสาหกรรมประมงอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สินค้าประมงของไทยสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีคณะผู้แทนภาครัฐ ประกอบด้วย นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ประธานคณะอนุกรรมการกฎหมายและการดำเนินคดี ศปมผ. ได้ร่วมให้ข้อมูลและตอบคำถามเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย การมุ่งสู่วิถีการประมงอย่างยั่งยืน การบรรลุนโยบาย IUU-free Thailand มาตรการการป้องกันการใช้แรงงานบังคับ และการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง