วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
สรุปคำกล่าวของนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในช่วง Plenary session ของการประชุม St. Petersburg International Economic Forum (SPIEF) ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเห็นว่า ในปัจจุบันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ เทคโนโลยีและวิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกนั้นพัฒนามาจากการมีเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจ การค้า และการลงทุนต่างๆ ซึ่งเสรีภาพเหล่านี้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของกฎระเบียบต่างๆ และความยั่งยืนและคาดเดาได้ของกฎระเบียบเหล่านี้ผ่านกลไกทางกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันหลักการพื้นฐานเหล่านั้นได้ถูกทำลายโดยมาตรการการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ๆ เช่น การเพิ่มข้อยกเว้น ข้อจำกัด และการคว่ำบาตร รวมถึงมาตรการอื่นๆ โดยถูกนำมาเชื่อมโยงกับบริบทความมั่นคงของชาติ เพื่อใช้ในการลดการแข่งขันและเอื้อประโยชน์ทางการค้า ทำให้บางประเทศต้องปรับตัวและมีมาตรการตอบโต้ โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้ยกตัวอย่าง การไม่สามารถระบุข้อความในการยกเว้นการสร้างอุปสรรคทางการค้าใหม่ๆ ในแถลงการณ์ร่วมผู้นำ G20 และเอเปค แม้ว่าการแถลงการณ์เหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีก็ตาม นอกจากนี้ มาตรการคว่ำบาตรและข้อห้ามทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ยังเป็นการกระทำตามอำเภอใจโดยปราศจากการควบคุม ไม่คำนึงถึงความตกลงหรือความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดวิกฤตอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจโลกทั้งมวล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเห็นว่า ความไว้เนื้อเชื่อใจจะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในอนาคต
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินแสดงความเห็นว่า องค์การการค้าโลก (WTO) ขาดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศ และกฎระเบียบและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศควรปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกโดยมีความโปร่งใส เท่าเทียมและสามารถปฏิบัติตามได้ในทุกเขตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ทุกประเทศควรร่วมกันพัฒนากฎระเบียบ และกลไกในการบังคับใช้ร่วมกันในสาขาที่อยู่ระหว่างการสร้างกฎระเบียบ เช่น ตลาดเทคโนโลยีใหม่ๆ e-commerce การเข้าถึงข้อมูลและความโปร่งใส การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิของผู้บริโภคในบริการดิจิทัล ทั้งนี้ รัสเซียให้ความสำคัญกับการค้าเสรี การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการเสริมสร้างการหารือระหว่างประเทศหุ้นส่วนอย่างสร้างสรรค์ และเรียกร้องให้มีการร่วมกันบรรลุ SDGs และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางโอกาส ปัญหาประชากรและสิ่งแวดล้อม ดำรงวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชาติ พัฒนาคุณภาพชีวิต และขยายการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ
รัสเซียให้ความสำคัญกับอำนาจอธิปไตยและอัตลักษณ์ของชาติ การกระตุ้นการพัฒนาประเทศให้เท่าเทียมกับประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องคุณภาพชีวิตของประชากร และต้องการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของโลกโดยกำหนดนโยบายบนหลักการ 4 ประการ ได้แก่
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์)