Thai Government Joined Hands with the Private Sector and NGO to Showcase Thailand’s Progress in Tackling the IUU Fishing ไทยจับมือภาคเอกชนและ NGO ชี้แจงความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย

Thai Government Joined Hands with the Private Sector and NGO to Showcase Thailand’s Progress in Tackling the IUU Fishing ไทยจับมือภาคเอกชนและ NGO ชี้แจงความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 1,121 view

 

On 24 April 2018, H.E. Mr. Manasvi Srisodapol, Ambassador of the Kingdom of Thailand to Belgium and Head of Mission of Thailand to the European Union, presided over the opening of the seminar “Thailand’s Path to Sustainable Fisheries” which was held during the Seafood Expo Global 2018 in Brussels, Belgium. The seminar aimed to showcase Thailand’s progress in tackling the illegal fishing to the wide audience, consisting of exporters/importers of fisheries products, and members of press and civil society organizations across the world. The Thai panelists included representatives from the Department of Fisheries, the Ministry of Labour, the Royal Thai Police, Thai Tuna Industry Association, and Stella Maris.
Ambassador Srisodapol delivered an overview of Thailand’s progress in tackling the illegal fishing which reflected Thailand’s determination towards achieving the Zero Tolerance policy. This was recognized by the international community as the overhaul of Thailand’s fishing industry, resulting in being one of Asian region’s most advanced control systems and one of the most comprehensive legal frameworks.
Mr. Adisorn Promthep, Director-General of the Department of Fisheries, reiterated that Thailand’s legal framework and the control mechanisms had been effectively developed with a view to achieving the IUU-free Thailand. Pol. Lt. Col. Rachatachoke Sauyklang, from the Royal Thai Police, further provided the updates on the legal proceedings of prominent illegal fishing cases as well as measures taken to strengthen the law enforcement, while Mrs. Petcharat Sin-auay, Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Labour, also gave an update on the development in labour issues which was propelled in parallel with the technical dimension of the fisheries reform.
Mr. Chanintr Chalisarapong, President of the Thai Tuna Industry Association, expressed the Association’s commitment to joining hands with all sectors, namely the Government, private sector, civil society, and the International Labour Organziation (ILO) to promote the sustainable fisheries as well as adhere to the code of conduct of the labour ethical practice throughout the entire production chain. Previously, the Association has also informed the United Nations Working Group on Business and Human Rights of the compliance policy for its members during the Working Group’s official visit to Thailand during 26 March to 4 April 2018.
Ms. Apinya Tajit, Deputy Director of Stella Maris, asserted that her statement was made on behalf of the civil society sector, not on behalf of the Thai Government, to reflect the reality of the Government’s efforts in addressing the labour problems which was now much better than before. She emphasized that this was a common responsibility of all sectors. The civil society sector was now more engaged with the Government in tackling this issue. Everyone should focus on the present and
the future, rather than bringing up outdated information to undermine the morale of those who have worked tirelessly to bring about such drastic improvements.
In addition to the aforementioned seminar, the delegation of Thailand also participated in the seminar on “The EU and the social dimension of fisheries” organized by the European Commission during the Seafood Expo Global 2018. The delegation listened to the statement made by H.E. Mr. Karmenu Vella, Commissioner of Environment, Maritime Affairs and Fisheries of the European Commission, which emphasized the need for the international community to ensure decent working conditions and safety of the vessel for people working on fishing vessels, and urged all States to ratify the ILO Conventions to deter the abuse of workers on fishing vessels. In this regard, he raised Thailand as an example of advancement in the labour issues through having the Labour Dialogue with the European Union.
At this event, Mr. Promthep took the opportunity to announce that Thailand is in the process of drafing a law to support Thailand’s readiness to ratify the ILO’s Work in Fishing Convention (C 188). It is anticipated that the ratification could be realized within this year. Moreover, one of the panelists spoke in support of Thailand’s collaboration with the ILO in preparing for the ratification of the C188, and encouraged other States of the European Union who have not yet ratified the Convention to do so.
 
 
ไทยจับมือภาคเอกชนและ NGO ชี้แจงความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย
 
เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ นายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนา "Thailand's Path to Sustainable Fisheries" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการจัดงาน Seafood Expo Global 2018 ณ กรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าประมง สื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาสังคมจากทั่วโลก และผู้บรรยาย ของไทยประกอบด้วยผู้แทนจากกรมประมง กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทางทะเล (Stella Maris)
นายมนัสวีฯ ได้กล่าวถึงภาพรวมของความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจริงจังของรัฐบาลไทยต่อนโยบาย Zero Tolerance จนประชาคมระหว่างประเทศยอมรับว่า ไทยได้ยกเครื่องการทำประมงทั้งระบบจนมีระบบควบคุมที่ทันสมัยอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคเอเชีย และมีกรอบกฎหมายที่แข็งแรง และครอบคลุมมากที่สุด
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ย้ำถึงกรอบกฎหมายและระบบควบคุมที่พัฒนาจนมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประเทศปลอดสัตว์น้ำและสินค้าประมงจากการทำการประมงผิดกฎหมาย (IUU-free Thailand) นอกจากนี้ พ.ต.ท. รชตโชค สวยกลาง ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังได้นำเสนอความคืบหน้าการดำเนินคดีเรือประมงผิดกฎหมายที่สำคัญ และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย และนางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ชี้แจงความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาแรงงานภาคประมงที่ดำเนินคู่ขนานไปกับการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายด้วย
นายชนินทร์ ชลิศราพงษ์ ประธานสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ได้กล่าวถึงความมุ่งมั่นของสมาคมฯ ที่ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในการส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืนและมาตรฐานแรงงานที่ถูกจริยธรรมตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยสมาคมฯ ได้รายงานการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติด้านแรงงานสำหรับสมาชิกสมาคมฯ ต่อคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน กับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ของสหประชาชาติ ที่ได้เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ถึงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๑ ด้วย
นางอภิญญา ทาจิตต์ รองผู้อำนวยการ Stella Maris ได้ย้ำว่า ตนเป็นผู้แทนภาคประชาสังคม มิได้กล่าว ในนามรัฐบาลไทย แต่ต้องการสะท้อนภาพความเป็นจริงของการแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงของรัฐบาลไทย ซึ่งดีขึ้นมากจากในอดีต ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของทุกภาคส่วน ไม่ใช่รัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว ขณะนี้ ภาคประชาสังคมได้เข้าร่วมทำงานแก้ไขปัญหากับภาครัฐในหลายเรื่อง และทุกฝ่ายควรมองปัจจุบันและอนาคตมากกว่าการใช้ข้อมูลเก่ามามุ่งบั่นทอนการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากการจัดเสวนาข้างต้นแล้ว คณะผู้แทนไทยยังได้เข้าร่วมงานเสวนาเรื่อง “The EU and the Social Dimension of Fisheries” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ในระหว่างการจัดงาน Seafood Expo Global 2018 ด้วย โดยคณะได้รับฟังถ้อยแถลงของนาย Karmenu Vella กรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเลและประมงสหภาพยุโรป ซึ่งย้ำถึงความจำเป็นที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสภาพการทำงานและความปลอดภัยบนเรือประมงสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบนเรือ และสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบัน ต่ออนุสัญญา ILO เพื่อคุ้มครองการปฏิบัติต่อแรงงานบนเรือประมงที่ไม่ถูกต้องด้วย โดยยกไทยเป็นตัวอย่างที่มี ความคืบหน้าด้านการแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงผ่านกลไกการหารือกับสหภาพยุโรปด้วย
อธิบดีกรมประมงได้กล่าวเสริมให้ผู้ร่วมงานทราบว่า ไทยกำลังอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมายภายในประเทศเพื่อรองรับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๘๘ ว่าด้วยการทำงานในภาคประมงทะเล (C188) และคาดว่าไทยจะสามารถให้การรับรองอนุสัญญาดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๑ นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าร่วมการเสวนากล่าวสนับสนุนความร่วมมือของไทยกับ ILO ในการเตรียมให้สัตยาบันต่อ C188 และเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ยังไม่ได้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวพิจารณาให้สัตยาบันต่อไปด้วย