ไทยเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุม OSCE Asian Conference ประจำปี 2567

ไทยเข้าร่วมเข้าร่วมการประชุม OSCE Asian Conference ประจำปี 2567

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 ต.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 ต.ค. 2567

| 94 view

649953_0_0

            เมื่อวันที่ 15 – 16 ต.ค. 2567 นางครองขนิษฐ รักษ์เจริญ อธิบดีกรมยุโรป และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาฝ่ายเอเชียขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe - OSCE Asian Conference) ประจำปี 2567 ณ กรุงเวียนนา ออสเตรีย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิก OSCE 57 ประเทศ และประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาฝ่ายเอเชีย 5 ประเทศ (รวมไทย)

            ไทยมีบทบาทที่แข็งขันในการประชุมฯ โดยอธิบดีกรมยุโรป ได้กล่าวถ้อยแถลงในช่วงเปิดการประชุมฯ และในช่วงการอภิปรายต่าง ๆ นอกจากนี้ ไทยยังได้เชิญ ดร. สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ ผู้แทนไทยใน ASEAN Women for Peace Registry (AWPR) เป็นผู้ร่วมอภิปราย (speaker/panelist) ในวาระด้านสตรี สันติภาพ และความมั่นคง (WPS) ในการประชุมฯ ด้วย โดย ดร.สุภาสเมตฯ ได้แบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและประสบการณ์ของไทยเกี่ยวกับการสนับสนุนบทบาทของสตรีในการส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แก่ที่ประชุมฯ

            หัวข้อหลักของการประชุมฯ คือ “Towards Stronger Partnerships for Sustainable Peace and Security” โดยในช่วงเปิดการประชุมฯ คณะผู้แทนไทยได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทของ OSCE ในการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระหว่างเอเชียและยุโรปท่ามกลางความท้าทายในด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความมั่นคง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงย้ำบทบาทของไทยในการเป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือระหว่าง OSCE และอาเซียนในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ผ่านศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ที่ไทย นอกจากนี้ ในการอภิปรายช่วงที่สองในมิติด้านสิ่งแวดล้อม คณะผู้แทนไทยเน้นย้ำความสำคัญและความเร่งด่วนของการร่วมมือกันเพื่อจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไทยมีการดำเนินนโยบายในด้านนี้โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับอาเซียนในการจัดตั้งศูนย์วิจัยด้านปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว ในการอภิปรายช่วงที่สามในมิติด้านความมั่นคงของมนุษย์นั้น คณะผู้แทนไทยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมและการหารืออย่างสร้างสรรค์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความมั่นคงของมนุษย์และการส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งปัจจุบันไทยมีพัฒนาการที่ก้าวหน้า อาทิ การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม การส่งเสริมนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกทั้งยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี ค.ศ. 2025-2027 ดังนั้น อาเซียนและ OSCE จึงควรพิจารณาแสวงหาโอกาสในการเพิ่มปฏิสัมพันธ์และดำเนินกิจกรรมร่วมกันต่อไป เพื่อประโยชน์ของการเสริมสร้างความมั่นคงองค์รวมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

            อนึ่ง ในช่วงการประชุมฯ ข้างต้น อธิบดีกรมยุโรปได้หารือทวิภาคีกับหัวหน้าฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักเลขาธิการ OSCE และอธิบดีกรมเอเชียและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศออสเตรียด้วย

            OSCE เป็นเวทีปรึกษาหารือในลักษณะการทูตเชิงป้องกัน (Preventative Diplomacy) เพื่อหาข้อยุติและระงับข้อพิพาทและข้อขัดแย้งในยุโรป โดยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมความมั่นคงองค์รวมใน 3 มิติ ได้แก่ (1) มิติการเมือง - การทหาร (2) มิติเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และ (3) มิติมนุษย์ โดยไทยให้ความสำคัญกับ OSCE ในฐานะที่เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในประเด็นความมั่นคง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความมั่นคง (Confidence – and Security-Building Measures: CSBMs) ระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ

 

Thailand attended 2024 Asian Conference aiming to promote Asia – Europe security cooperation

            On 15 – 16 October 2024, Mrs. Krongkanit Rakcharoen, Director-General of the Department of European Affairs, led the Thai delegation to the 2024 Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) Asian Conference in Vienna, Austria. The Conference was attended by the 57 OSCE participating States and 5 Asian Partners for Co-operation (including Thailand).

            The Director-General highlighted Thailand’s active role in supporting the role of the OSCE in her remarks delivered at the Opening Session of the Conference. She also gave the interventions in the Conference’s different sessions. Moreover, Dr. Suphatmet Yunyasit, a Thai representative in the ASEAN Women for Peace Registry (AWPR), shared Thailand’s best practices and experiences on promoting women’s role in the peace process in the Southeast Asian region as a speaker/panelist in the session on Women, Peace and Security (WPS) agenda.

            The theme of the 2024 OSCE Asian Conference was "Towards Stronger Partnerships for Sustainable Peace and Security." At the opening session, the Thai delegation emphasised the important role of the OSCE in enhancing constructive engagement and cooperation between Asia and Europe, particularly amidst global challenges in geopolitics, security, and climate change. Thailand also stands ready to serve as a bridge builder between OSCE and ASEAN in non-traditional security issues such as addressing cybercrime through capacity building programmes under the ASEAN-Japan Cybersecurity Capacity Building Centre (AJCCBC) located in Thailand. At the second session on environmental dimension, the Thai delegation highlighted the urgency and importance of cooperation to tackle climate change. Thailand has implemented the people-centered policies through the Bio-Circular-Green, or BCG Economy Model and has also collaboratively established an ASEAN Centre for Climate Change (ACCC) as the focal point of best practices’ exchange on climate change issues. At the third session on human security dimension, the Thai delegation stressed the significance of inclusive and constructive dialogue to create the conducive environment for human security and human rights. Following this practice, Thailand has made significant progress as reflected in the passing of the Marriage Equality Act, the implementation of Universal Health Coverage (UHC) and being elected to serve in the Human Rights Council (HRC) for the term 2025 – 2027. The two organizations should, therefore, consider exploring more direct engagement and joint activities going forward to support comprehensive security for the people of both regions. 

            On the margins of the Conference, the Director-General had bilateral meetings with the OSCE Secretariat’s Head of External Co–operation and Director-General of the Department of Asia and Pacific, Austrian Ministry of Foreign Affairs.

            The OSCE is a consultative forum that focuses on enhancing preventive diplomacy and early warning systems to settle and prevent conflicts and crises in Europe. The OSCE’s mandate is to promote a comprehensive approach to security that encompasses the politico-military, economic and environmental, and human aspects. Thailand values the OSCE as an open policy space for the exchange of experiences and best practices in security-related matters which, in and of themselves, are valuable confidence- and security-building measures (CSBMs) between nations.

 

 

****************

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ