แผนยุทธศาสตร์ต่อ Indo-Pacific ฉบับใหม่ของลิทัวเนีย

แผนยุทธศาสตร์ต่อ Indo-Pacific ฉบับใหม่ของลิทัวเนีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 ต.ค. 2566

| 652 view

Brown_History_Repeating_Quote_Poster

แผนยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาค Indo-Pacific ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. มุ่งกระชับความสัมพันธ์เพื่ออนาคตที่ปลอดภัย ยืดหยุ่น และมั่งคั่งของลิทัวเนีย ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และ Soft Power กับกลุ่มประเทศพันธมิตรของ NATO อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมทั้ง อาเซียน และไต้หวัน ในด้านเทคโนโลยี การวิจัย การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการส่งเสริมประชาธิปไตย

 

2. รับมือการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลก คำนึงถึงหลักประชาธิปไตย เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน โดยมองรัสเซียและจีนเป็นภัยคุกคามอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังเตรียมพร้อมรับมือกับความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ข้อพิพาทในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ ข้อพิพาทจีน-อินเดีย และ อินเดีย-ปากีสถาน รวมถึงสถานการณ์ในอัฟกานิสถานและเมียนมา

 

3. เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตลิทัวเนีย และ สำนักงานผู้แทนการค้าลิทัวเนีย ในต่างประเทศ อีกทั้ง มีการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่งคงทางไซเบอร์ ความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือ ความมั่นคงด้านพลังงาน        การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การลดมลพิษทางทะเล การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs 2030 การสร้างเครือข่าย Soft Power และการส่งเสริมบทบาทของเด็กและสตรี

 

4. ส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีผ่านกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ได้แก่ ASEAN, PIF, WTO, OECD และ UNESCO

 

5. เสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับกลุ่มเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ (1) ตลาดส่งออกและนวัตกรรม ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย  (2) ตลาดที่มีศักยภาพในการลงทุน ได้แก่ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (3) ตลาดที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยว ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน (4) ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ ญี่ปุ่น และไต้หวัน (5) ตลาดที่สำคัญและมีอนาคต ได้แก่ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยให้ความสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่าสูง และการลงทุนในลิทัวเนีย

 

ข้อมูลอ้างอิงจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน