การพิจารณาของรัฐสภาต่อกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วน และความร่วมมือรอบด้านระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (อียู) และรัฐสมาชิก (PCA) วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567

การพิจารณาของรัฐสภาต่อกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วน และความร่วมมือรอบด้านระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (อียู) และรัฐสมาชิก (PCA) วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 ก.ย. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 2 ก.ย. 2567

| 147 view

    pic_3_0  

    เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ๒๕๖๗ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยนางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นางครองขนิษฐ รักษ์เจริญ อธิบดีกรมยุโรป และนางสาวสมฤดี พู่พรอเนก รองอธิบดี กรมยุโรป ได้เข้าร่วมการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 1 โดยสมาชิกรัฐสภาได้อภิปราย “กรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่างไทย–อียู และรัฐสมาชิก (Thailand-EU Comprehensive Partnership and Cooperation Agreement - PCA)” และมีมติเห็นชอบกรอบความตกลงฯ ด้วยคะแนนเสียง 612 เสียง

    กรอบความตกลง PCA จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอียูและประเทศสมาชิกอียู ๒๗ ประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยจะเป็นพื้นฐานในการขยายความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนเพิ่มโอกาสด้านการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการเร่งการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-อียู และเป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของภาคธุรกิจให้เข้าถึงมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนแหล่งเงินทุนและโครงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อันมีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและนโยบายการพัฒนาของประเทศ

    PCA ยังเน้นความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่ เช่น ความมั่นคงทางไซเบอร์ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการมีค่านิยมร่วมกัน เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และนิติรัฐด้วย

    นอกจากนี้ PCA ยังสนับสนุนการผลักดันการขอรับการยกเว้นการตรวจลงตราเชงเก้นสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทย ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการสมัครเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) และส่งเสริมบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอียูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

   ***************

    On August 29, 2024, H.E. Mr. Maris Sangiampongsa, Minister of Foreign Affairs,Ms. Eksiri Pintaruchi, Permanent Secretary for Foreign Affairs, Ms. Busadee Santipitaks, Deputy Permanent Secretary for Foreign Affairs, Mrs. Krongkanit Rakcharoen, Director-General of the Department of European Affairs, and Ms. Somrudee Poopornanake, Deputy Director-General of the Department of European Affairs, attended the First Joint Parliamentary Meeting of the Senate and House of Representatives. The meeting approved the “Thailand-EU Comprehensive Partnership and Cooperation Agreement – PCA” with 612 votes.

    The PCA is expected to advance relations among Thailand, EU, and its 27 member states. The PCA aims to foster a closer and more strategic partnership, enhance dialogue, and expand cooperation across various sectors such as politics, trade, investment, and social issues. Among the key benefits of the PCA are its potential to boost trade and investment opportunities between Thailand and the EU, particularly by expediting negotiations for a Thailand-EU Free Trade Agreement, enabling access to best practice standards, and enhancing competitiveness. It also facilitates access to funding and research initiatives in science, technology, and innovation, all of which are essential for the country's economic recovery and development policies.

    The PCA also plays a role in facilitating travel for Thai citizens in supporting the consideration for Schengen visa exemptions for Thai ordinary passport holders. Furthermore, the PCA enhances Thailand's position on the international stage, contributing to support its bid for membership in the Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). The Thai-EU PCA also solidifies Thailand's role as a strategic partner of the EU in Southeast Asia.

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ