บทความทิศทางใหม่ของนโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป

บทความทิศทางใหม่ของนโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.พ. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,682 view

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 สหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกกฎหมายปฏิรูปนโยบายเกษตรร่วม หรือ Common Agricultural Policy (CAP) ฉบับใหม่ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2023 - ค.ศ. 2027 โดยในระหว่างนี้ประเทศสมาซิกอียูมีหน้าที่ต้องทบทวนแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระดับชาติ (Strategic Plan) ให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับใหม่ก่อนเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป ซึ่งกระบวนการพิจารณาดังกล่าวน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ

ประเด็นสำคัญภายใต้การปฏิรูป

การปรับนโยบายในครั้งนี้เรียกว่า "A Greener and Fairer CAP" มีสาระสำคัญประกอบด้วย

1) กระตุ้นให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีทำฟาร์มโดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศรวมถึงสวัสดิภาพสัตว์ไปพร้อมกัน เช่น

- กำหนดให้แผน Strategic plan ของประเทศสมาชิกจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายEuropean Green Deal โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ด้าน Farm to Fork และความหลากหลายทางชีวภาพ

- กำหนดให้ประเทศสมาชิกจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างน้อยร้อยละ 25 สำหรับโครงการ Eco-schemesเช่น การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรนิเวศ หรือการจัดตั้งฟาร์มคาร์บอน รวมถึงการทำการเกษตรที่ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

- เพิ่มเงินช่วยเหลือด้านพัฒนาชนบทอย่างน้อยร้อยละ 35 เพื่อสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับด้านเกษต สิ่งแวดล้อม หรือการพัฒนานวัตกรรม

2) กำหนดเงื่อนไขด้านสังคมเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการใช้จ่ายเงินงบประมาณของประเทศสมาชิก เช่น

- ผูกโยงการจ่ายเงินอุดหนุนการเกษตรและเงินช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง (direct payments) กัการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงาน เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ สภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมุ่งเน้นให้ลูกจ้างในงานเกษตรกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดี

- การสนับสนุนฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางมากขึ้น

- เกษตรกรที่ทำการเกษตรเท่านั้น (active farmers) ที่จะได้รับประโยชน์จากเงินช่วยเหลือ (ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน)

- เกษตรกรหนุ่มสาวจะได้รับการเงินช่วยเหลือโดยตรงมากขึ้น

- การจ่ายเงินช่วยเหลือโดยตรงจะต้องคำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้หญิงทำการเกษตรมากขึ้น

3) ปรับปรุงการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวขึ้น ตลอดจนปรับปรุงสถานะของเกษตรกรในห่วงโซ่การผลิตอาหารให้ดีขึ้น เช่น

- การสนับสนุนด้านการตลาดเพื่อช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตรของยุโรป

- เพิ่มอำนาจต่อรองของเกษตรกร โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกร และการทำงานร่วมกัน

- กันเงินสำรองไว้อย่างน้อยปีละ 450 ล้านยูโรสำหรับใช้ในยามที่ตลาดเผชิญวิกฤติ

สภายุโรปเสียงแตกเรื่องการใช้เงินอุดหนุน

แม้ว่าประเทศสมาชิกส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับข้อเสนอการปฏิรูปในครั้งนี้ แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่ม Greens ต้องการเห็นการอุดหนุนที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น โดยเฉพาะการช่วยเหลือเกษตรกรรายเล็กและรายย่อยที่มีข้อจำกัดในเรื่องเงินทุน และการเพิ่มเงินพัฒนาชนบทที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการกำหนดเพดานการอุดหนุนอย่างเหมาะสมเพื่อมิให้ประเทศสมาชิกมีอิสระในการกำหนดมาตรการให้เงินช่วยเหลือ

เกษตรกรที่เสรีจนเกินไป ทั้งนี้ การกำหนดมาตรฐานที่สูงทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของยุโรปภายใต้ CAP จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าของอียูให้สูงขึ้นและอาจทำให้ความสามารถการแข่งขันของอียูในตลาดโลกลดลง อียูอาจมีมาตรการปกป้องผลประโยชน์ภายใน โดยใช้วิธีกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำให้การนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศที่สาม รวมถึงไทย มีขั้นตอนยุ่งยากและเป็นอุปสรรค นอกจากนี้ คาดว่าอียูจะผลักดันให้นานาประเทศเพิ่มความทะเยอทะยานร่วมกันเพื่อรับมือกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น

********

ขอขอบคุณที่มาจาก Thaieurope.net และที่มาอื่น ๆ ดังนี้

https://ec.curopa.cu/info/food-farming-fisheries/key-policies/common-agriculturaL

policy/new-cap-2023-27en

https://pro .politico.eu/news/144310

httpsi://pre.politico.eu/news/143030